พื้นที่ของแหล่งความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจ รวบรวมจากบทความ และบทเรียน ต่างๆใน Overdrive , Rhythm Section และ Com Music ซึ่งเป็นหนังสือในเครือ PMG โดยเฉพาะเล่มเก่าๆ ที่ตอนนี้หาซื้อไม่ได้แล้ว ซึ่งมีบทความมากมายที่รอให้ทุกๆคนได้สัมผัส

Tuesday, October 30, 2007

DREAM THEATER LIVE IN BANGKOK

DREAM THEATER

LIVE IN BANGKOK

CHAOS IN MOTION WORLD TOUR 2007/2008

JANUARY 19TH 2008

Dream Theater is an American progressive metal band comprising

James LaBrie -Lead Vocal

John Petrucci -Guitar,Vocal

Jordan Rudess-Keyboard

John Myung -Bass

Mike Portnoy –Drum,Vocal

Dream Theater was formed in 1985 under the name "Majesty" by Petrucci, Myung, and Portnoy, Though a number of lineup changes followed, the three original members remain today along with LaBrie and Rudess. Dream Theater has become one of the most commercially successful progressive rock bands since the height of the genre in the mid-1970s, despite being relatively unknown in mainstream rock circles. Although the band has had a few successful hits (notably 'Pull Me Under' in the early 1990s, which had extensive MTV rotation), it has mostly stayed underground for its career, feeding off support from fans.

The band is well known for the technical proficiency of its instrumentalists, who have won many awards from music instruction magazines. Dream Theater's members have collaborated with many other notable musicians. Guitarist John Petrucci was named as the third player on the G3 tour six times, more than any other invited guitarist.

The band's two highest selling albums are the gold selling Images and Words (1992), although it reached only #61 on the Billboard 200 charts,[1] and Awake (1994) which reached #32 on the Billboard 200.[1] Dream Theater has sold over two million albums in the U.S. and over eight million albums and DVDs worldwide. And have 8 Studio Albums already and ton of Side Project for each members.

Systematic Chaos is the ninth studio release of the progressive metal band Dream Theater, and their first released on the new label, Roadrunner Records.

 

Systematic Chaos was written and recorded from September 2006 to January 2007 at Avatar Studios in New York City, co-produced by drummer Mike Portnoy and guitarist John Petrucci and engineered by Paul Northfield. The final mix was signed off on Valentine's Day, February 14. The final master of the CD was finished and the track listing was released on February 21, and the album itself was released on June 5. Along with a standard version, there is also a Special Edition containing the standard CD, along with a DVD containing a 5.1 mix of the album and a 90 minute documentary detailing the making of the album entitled "Chaos in Progress - The Making of Systematic Chaos".It is their highest charting album in the United States to date.

Drummer Mike Portnoy described the album as "Heavy and technical, powerful and dynamic — all of the elements that people kind of expect out of a Dream Theater album.” The album also guests Joe Satriani, Steve Vai, Steve Wilson, Daniel Gildenlow and Neal Morse .

The band is currently promoting their latest effort, Systematic Chaos with a world tour, which began on June 3, 2007 in Milan, Italy.

JANUARY 19TH 2008 - DREAM THEATER LIVE IN BANGKOK

“CHAOS IN MOTION WORLD TOUR 2007/2008”

Ticket On Sale . www.thaiticketmajor.com

Any information prartmusic@gmail.com

"Systematic Chaos" track listing

DREAM THEATER - SYSTEMATIC CHAOS

In The Presence of Enemies Pt.1

Forsaken

Constant Motion

The Dark Eternal Night

Repentance

Prophets of War

The Ministry of Lost Souls

In The Presence of Enemies Pt.2

มหากาพย์ทางดนตรีบทใหม่ การกลับมาอีกครั้งของ วงโปรเกรสซีฟร็อคอันดับหนึ่งของโลก

DREAM THEATER

CHAOS IN MOTION WORLD TOUR 2007/2008

เสาร์ 19 มกราคม 2551

วันที่ 25 มกราคม 2549 ค่ำคืนนั้น ชาวไทยได้สัมผัสและได้รับความประทับใจกับพวกเขาทั้ง 5 คน Dream Theater จากคอนเสิร์ตครั้งแรกของพวกเขาในเมืองไทย การเล่นที่ยาวร่วม 3 ชั่วโมง ในชื่อทัวร์ Octavarium World Tour 2005/2006

หลายๆคน พลาดคอนเสิร์ตครั้งนั้นไป หรือแม้แต่คนที่ได้ไปชมในคืนนั้น ต่างเฝ้ารอ การกลับมาของพวกเขา

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2551 โรงละครแห่งความฝัน จะมาเปิดการแสดงอีกครั้ง ในขื่อทัวร์ CHAOS IN MOTION WORLD TOUR 2007/2008 ณ BANGKOK HALL สวนลุม ไนท์ บาซา

วันนี้ใครที่ยังไม่รู้จักพวกเขามาดูประวัติของพวกเขาย่อๆกัน

DREAM THEATER BIO

Dream Theater เป็นวงโปรเกรสซีพ เมทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมาชิกปัจจุบันประกอบไปด้วย

James LaBrie - ร้องนำ

John Petrucci -กีตาร์

Jordan Rudess -คีย์บอร์ด
John Myung -กีตาร์เบส

Mike Portnoy -กลอง

Dream Theater ตั้งวงขึ้นในปี ค.ศ. 1985 ภายใต้ชื่อวงว่า “Majesty” โดย Petrucci, Myung, and Portnoy ใน Boston ซึ่งสมาชิกก็มีการผัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปแต่ทั้ง 3 คนก็ยังเป็นเสาหลักของวงเสมอมา จนกระทั่งได้สมาชิกในปัจจุบัน คือ LaBrie ในตำแหน่งร้องนำ และ Rudess ในตำแหน่งคีย์บอร์ด

Dream Theater ได้กลายมาเป็นหนึ่งในวงโปรเกรสซีพร็อคที่ประสบความสำเร็จที่สุด ทางวงนั้นเป็นที่รู้จักดีเนื่องจากสมาชิกแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีความเจนจัดในการเล่นเครื่องมือของตนอย่างช่ำชอง ซึ่งสมาชิกของ Dream Theater นั้นต่างก็เคยร่วมงานกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียง โดย John Petrucci มือกีตาร์ของวงนั้นได้ร่วมทัวร์คอนเสิร์ต G3 กับ Joe Satriani และ Steve Vai ถึง 6 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่ามือกีตาร์คนอื่นๆที่มาร่วมเล่นใน G3

อัลบั้มที่มียอดขาดสูงสุด 2 อัลบั้มของวง คือ Images and Words (1992) ซึ่งไต่ชาร์ตบิลบอร์ดอยู่ในอันดับที่ 61 บน Billboard 200 charts และอีกอัลบั้ม คือ Awake (1994) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 32 ของชาร์ต อัลบั้มของ Dream Theater นั้นขายได้มากกว่า 2 ล้านอัลบั้มในสหรัฐอเมริกา และมากกว่า 8 ล้านอัลบั้มและ DVDs ในทั่วโลก และพวกเขาท็ร่วมกันทำ Studio Albums ถึง 8 ชุด และ Side Project ขอวแต่ละคน อีกนับไม่ถ้วน

Systematic Chaos เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 9 ของวงโปรเกรสซีพร็อคชื่อดัง Dream Theater และเป็นอัลบั้มแรกที่ทางวงออกกับค่ายใหม่ คือ Roadrunner Records

โดยอัลบั้มนี้ได้ถูกแต่งและทำการบันทึกเสียง ตั้งแต่เดือน กันยายน 2006 ไปจนถึงเดือน มกราคม 2007 ที่ Avatar Studios ในเมืองนิวยอร์ค ซึ่งโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มนี้ก็คือ Mike Portnoy และ John Petrucci โดยมี Paul Northfield เป็น Sound Engineer ซึ่งการ mix เสียงครั้งสุดท้ายนั้น เกิดขึ้นใน วันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์) และอัลบั้มนี้ก็ได้เสร็จสิ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พร้อมทั้งปล่อย List เพลงออกมาพร้อมกันในวันนี้ ส่วนอัลบั้มออกวางจำหน่ายในวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งนอกจากเวอร์ชั่นปกติแล้ว อัลบั้มนี้ยังมี Special Edition อีกด้วยซึ่งในเวอร์ชั่นนี้จะมีแผ่น DVD ของอัลบั้มซึ่งบันทึกเสียงด้วยระบบเสียง 5.1 และสารคดีความยาว 90 นาทีเป็นเบื้องหลังการทำงานในอัลบั้มนี้โดยใช้ชื่อว่า "Chaos in Progress - The Making of Systematic Chaos"

Mike Portnoy มือกลองและ Co-Producer ของอัลบั้มนี้ได้กล่าวถึงอัลบั้มนี้ว่า “ มันมีทั้งความหนักหน่วง,เทคนิค,เปี่ยมไปด้วยพละกำลังและความมีชีวิตชีวา ทุกๆสิ่งทุกอย่างๆที่แฟนเพลงของเราคาดหวังไว้” โดยในอัลบั้มนี้มีแขกรับเชิญเป็นนักดนตรีชื่อดังมากมายทั้ง Joe Satriani, Steve Vai, Steve Wilson, Daniel Gildenlow และ Neal Morse

ซึ่งในขณะนี้ทางวงกำลัง ทำการโปรโมทอัลบั้มใหม่ล่าสุดซึ่งก็คือ Systematic Chaos ซึ่งออกกับสังกัดใหม่ คือ Roadrunner Records ซึ่งเป็นค่ายเพลง Metal ชื่อดังและเป็นแหล่งรวมศิลปิน Metal ชื่อก้องโลกไว้มากมาย โดยเริ่มออกแสดง World Tour ที่แรกคือ มิลาน ,อิตาลี ในวันที่ 3 มิถุนายน 2007

วันนี้คุณสามารถเข้าไปดู MUSIC VDO , INTERVIEW VDO รามถึงเบื้องหน้า เบื้องหลังของเขาได้ที่

www.dreamtheater.net

www.myspace.com/dreamtheater

www.youtube.com/dreamtheater

มหากาพย์ทางดนตรีบทใหม่นี้กับ DREAM THEATER

CHAOS IN MOTION WORLD TOUR 2007/2008

จะแสดงในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2551 ณ BANGKOK HALL สวนลุม ไนท์ บาซา

บัตรจำหน่ายทาง Thai Ticket Major ทุกสาขา เริ่มจำหน่ายบัตร 3 พฤศจิกายนนี้

"Systematic Chaos" track listing

DREAM THEATER - SYSTEMATIC CHAOS

In The Presence of Enemies Pt.1

Forsaken

Constant Motion

The Dark Eternal Night

Repentance

Prophets of War

The Ministry of Lost Souls

In The Presence of Enemies Pt.2

Monday, October 15, 2007

"25 Licks You Must Know"

MUSIC SPOKEN AREA by Prart

From: Music Spoken Area ,Overdrive Magazine No.4&6, August-October 1998.

ในตอนนี้ผมจะขอพูดถึงเรื่อง Blues สักหน่อย เพราะพอดีผมไปเห็นหนังสือ Guitar Magazine ได้เขียนรวบรวม Lick ที่เด่นมาก ๆ ใน Blues โดยใช้หัวข้อว่า "25 Licks you Must Know" หรือก็คือ"25 Licks" ที่คุณจะต้องรู้" เป็น Lick ที่โดดเด่นของเซียน Blues ทั้งหลาย ในการที่เราเรียนรู้นี่เป็นการศึกษา นะครับ ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ พอคุณรู้ว่าอะไรคืออะไรทีนี้คุณต้องนำเอาสิ่งเหล่านี้มาพัฒนากันต่อไป และคุณก็จะรู้ว่าดั้งเดิมของ Blues เป็นอย่างไร

Ex.1 เป็น Lick ของ Jimi Hendrix เทพเจ้าหัวฟูที่เหนือคำบรรยาย อยู่ในฮาร์โมนี่ของ I7 Chord (หมายความว่า คุณสามารถใช้เรื่องนี้กับคอร์ด I7 ของเพลง เช่น ถ้าเพลง Key A Lick นี้ก็จะใช้ในคอร์ด A7เรื่องตรงนี้ผมเคยเขียนมาแล้ว ลองดูเล่มเก่า ๆ ที่ผมเขียนถึง) เป็นการใช้ Chromatic Note (โน๊ตครึ่งเสียง)ผสมกับ Blues Line ในรูปร่างของ Tritone (3 เสียงเดิม G-C# ลองเล่นดู และดูสัดส่วนของโน๊ตดีๆ ด้วย

EX.1

Ex.2 Lick นี้เป็นของ BB.King ที่อยู่ในฮาร์โมนี่ของคอร์ด I7 เข้าไปหา IV 7 (A7-D7) เป็น Lick ที่ดีสำหรับ 2 คอร์ดนี้สังเกตดูเขาจะใช้เป็นรูปของ Arpeggio มากกว่า Scale เพราะจะให้สีสันของคอร์ดได้ดีกว่า

EX.2

Ex.3 ตรงนี้เป็นของ Stevie Ray Vaughan อยู่ในคอร์ด I7-IV 7 เช่นกัน เป็น Lick ที่ให้สีสันของ Blues ได้ดีมากต้องลองเล่นดูแล้วจะรู้เชื่อผมเต๊อะ

EX.3

Ex.4 เป็น Lick จากเพลง "Leave My Girl Alone" ในอัลบั้ม Left My Blues in San Franciscoของ Buddy Guy แต่ Stevie Ray Vaughan นำมาใช้จนเป็นเอกลักษณ์ของเขาเลยทีเดียว (เห็นไหม Stevie Ray ก็ต้องเรียนรู้จาก Original อีกที แล้วค่อยสร้างแนวทางของตนเอง) ใน Lick นี้เป็นการใช้ Double-Stop (คู่ประสาน) ใช้นิ้ว 3 สไลด์ โน๊ต Flat 5 เข้า ๆ ออกๆ ใน Lick ให้ความเป็น Blues ดีมากเลยทีเดียว

EX.4

Ex.5 คราวนี้เป็นของ T.Bone Walker เป็น Lick ที่เขาใช้เป็นยี่ห้อของเขาเลย เขาใช้ในเพลง StormyMonday และเพลงอื่น ๆ ของเขาอย่างมากมาย Lick นี้เป็นการใช้โน๊ต 9 (A ใน Key G) ซึ่งสร้างเอกลักษณ์ให้กับ T.Bone ได้เลยทีเดียว

EX.5

วันนี้เราเริ่มด้วย 5 Lick กันก่อน ลองเล่นให้ได้และดู Key ของแต่ละ Lick ด้วยพร้อมกับสัดส่วนของโน๊ต ทีนี้จะมีข้อแนะนำในการฝึกฝน Lick เหล่านี้ คือ

- เล่น Lick เหล่านี้ให้ได้จนเป็นธรรมชาติ คือไม่แข็งเหมือนการอ่านโน๊ตเหมือนกับเราคิดของเราเอง แล้วก็เปลี่ยน Key ไปทุก ๆ Key บนกีตาร์ ยิ่งจะสร้างความคล่องตัวให้มากขึ้น

- ดูให้แน่ใจว่า Lick ที่เล่นอยู่ใน Key อะไร และตำแหน่งคอร์ดที่เท่าไหร่ใน 12 Bar-Blues - นำมาใช้กับ Solo ของเราให้ได้อารมณ์ ดั่งเช่นเซียนทั้งหลาย ถ้ายังไม่มีความรู้สึกนี้แสดงว่ายังเข้าไม่ถึง Blues เล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมี ถึงเวลานั้นคุณก็จะรู้ว่า Blues คืออะไร

จำหลักการนี้ไว้ดี ๆ ใช้ได้ตลอดกับ Blues เราไปดูกันต่ออีก 5 Lick

Ex.6 T-Bone Walker Lick เป็น Lick ง่าย ๆ เล่นไม่กี่โน๊ต แต่มีเสน่ห์เหลือรับประทาน อยู่ในฮาร์โมนี่ ของ Chord IV7 ให้ความสำคัญกับการ Vibrato ด้วย

EX.6

EX.7 คราวนี้เป็นของ Hubert Sumlim ผู้มีอิทธิพลต่อ Eric Clapton และ Michael Bloomfield Lick นี่อยู่ในเพลง "Shakae For Me " อยู่ในฮาร์โมนี่ V7-IV7-I7 ลองสังเกตดูโน๊ต 1/2 เสียงในห้องที่ 2 เป็นประโยชน์มากใน Blues

EX.7

Ex.8 Lick นี้เป็นของ Peter Green แห่ง Fleetwood Mac เป็น Minor Blues เขาผู้นี้คือคนหนึ่งในการคิดค้นก่อสร้าง Minor Blues ขึ้นมา Lick นี้อยู่ในเพลง "Black Magic Woman" (ไม่ไช่ของ Santana นะ ชื่อเหมือนกันเท่านั้น) อยู่ในฮาร์โมนี่ lm7-V7 ลองเล่นดู

EX.8

Ex.9 คราวนี่ถึงคราวของ Wes Mantgomery นักกีตาร์แจ๊สผู้ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลของ Blues อยู่เต็มตัวของเขาใน Lick นี้ถือเป็น Jazz Blues เขาใช้ A Note กับคอร์ด Ab7 เพื่อให้เกิดสุ้มเสียงของ Flat 9thคุณต้องลองเล่นดูแล้วจะรู้ว่าทำไมคนถึงได้ยกย่อง Wes กันนัก Lick นี่อยู่ V7-lm7 ลองหางานของเขาผู้นี้ฟังดูเชื่อผม!

EX.9

Ex.10 Kenny Burrell คือนักกีตาร์ Jazz Blues อีกคนที่ลืมเสียไม่ได้ คุณต้องฟังอัลบั้ม "Midnight Blues" แล้วคุณจะรู้ Lick นี้แสดงให้เห็นถึงว่า คุณจะใช้ flat 5th Double-Stop ได้อย่างไร ใน Jazz อยู่ใน V9-I7 Chord

EX.10

Ex.11 เป็น lick ของ KENNNY BURRELL ในฮาร์ไมนี่ VI-IV7-I7 เป็น LICK ที่ไม่ซับซ้อนใน SWING FELL แต่น่าสนใจมาก

Ex. 12 ALBERT KING ผู้ยิ่งใหญ่ LICK นี้อยู่ในช่วงต่อระหว่าง I7-IV7 เป็นการเล่น ANTICIPATION ( การเล่นฮาร์โมนี่ของคอร์ด ก่อนที่คอร์ดนั้นจะถึง ในที่นี้ก็คือเล่น ฮาร์โมนี่ของ Eb9 ในบีทที่ 4 ของ Bb7 สังเกตดู

Ex. 13 ALBERT อีกหนึ่ง อยู่ใน IV7-I7 มาจากเพลง "STRANG BREW" ของ ERIC CLAPTONตอนอยู่กับ CREAM เป็น LICK เดียวกันเลย นี่คืออิทธิพลที่ ALBERT KING มีต่อ CLAPTON LICK นี้ไอเดียดีมาก คุณต้องเล่นและวิเคราะห์ดู

Ex. 14 ALBERT KING อีกทีเป็น CHROMATIC BEND (ดันสายที่ละ 1/2 เสียงอยู่ใน I7 GARY MOORE ก็นำ LICK นี้มาใช้ในเพลง "AFTER HOURS" ของเขา นี่คืออิทธิพลที่ ALBERT มีต่อนักกีตาร์ BLUES รุ่นหลัง ๆ อย่างมากมาย และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไม่เราถึงต้องเรียนรู้ LICK เหล่านี้

Ex. 15 BILLY GIBBONS แห่ง ZZ TOP อยู่ในเพลง "JESUS JUST LEFT CHICAGO" เป็น LICK ที่อยู่ใน V7 ของท้ายท่อน โดยเขาก็ได้รับอิทธิพลมาจาก ROBERT JOHNSON อีกที ลองเล่นดู

Ex. 16 วันนี้ถึงคราวของ BLUES ผิวขาว MICHAEL BLOOMFIELD นี่คือลักษณะเด่นของ BLOOMFIELD การใช้ SIXTEENTH NOTE ใน BLUES LICK นี้อยู่ใน I7 ใน KEY G

E

Ex. 17 LICK นี้เป็นของ FREDDLE KING อยู่ใน KEY G เป็นช่วงของคอร์ด lV กลับเข้าหา I(บาร์ที่ 6 มา 7 ใน 12 ห้อง) เป็นการใช้ INTERVAL ข้ามกันไปใน TRIPLET สวยงามมาก

Ex. 18 LICK นี้เป็น TURN AROUND ( LICK ในบาร์ที่ 11-12 เพื่อใช้ส่งกลับไปหาห้องที่ 1 ใหม่) เป็นของ FREDDLE KING เช่นกัน LICK นี้มือกีตาร์ในยุคปลาย 60 ใช้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ERIC CLAPTON, PETER GREEN, MICHEAL BLOOMFIELD ฯลฯ อยู่ใน KEY A

Ex. 19 คราวนี้เป็นหน้าที่ของ PETER GREEN มือกีตาร์วง BLUESBREAKERS ผู้โด่งดัง เป็น LICK ในเพลง "THE STUMBLE" จากอัลบั้ม "A HARD ROAD" อยู่ใน KEY E เป็น LICK ในสำเนียงของ BRITISH BLUES (BLUES จากอังกฤษ) อย่างชัดเจณ

Ex. 20 MICK TAYLOR มาแทน PETER GREEN ในยุคต่อมาของ BLUESBREAKERS อยู่ใน KEY E เป็นการใช้ BENDING (การดันสาย) อย่างยอดเยี่ยม

Ex.21 เป็น Lick ของ Robben Ford ใช้กับคอร์ด IV 7 ให้เสียงหยดย้อยเขาใช้ tritone ในคอร์ด IV7 นี้ในสไตล์ T Bone Walker

Ex.22 Robert Clay lick ในคอร์ด IV 7 เขาใช้ในเพลง Midnight Stroll ของเขา lick นี้ต้องใช้คอร์ด IV นะครับ เสียงถึงจะสะใจโก๋

Ex.23-24 เป็น lick ของ Magic Sam ผู้มีอิทธิพลต่อมือกีตาร์บลูส์อีกมากมาย

Ex.25 lick สุดท้ายก็ขอจบด้วย Stevie Ray ละกันเป็น lick ที่เขาชอบใช้กันในคอร์ด V7 โดย lick นี้ได้รับอิทธิพลมาจาก Albert King เต็มๆ เล่นด้วย down stroke (ดีดลง) และปรับเสียงใหญ่ๆหน่อยเยี่ยมแน่กับ lick นี้

ผมกล้ารับประกันว่า ถ้าคุณเล่น LICK ทั้งหมดนี้ได้อย่างคล่อง และใช้ได้ถูกตำแหน่ง สำเนียง การเล่น BLUES จะต้องดีขึ้น อย่างที่ตัวคุณเองอาจจะตกใจตัวเอง "นี่ตัวผมเองแหละ" ลองฝึกดู อย่ารอช้า จำคำกล่าวนี้ไว้ "พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว"

อ. ปราชญ์ บรรเลงเพลงระนาด

อ้างอิง : Music Spoken Area ,Overdrive Magazine No.4&6 , August-October 1998.

Tuesday, October 2, 2007

Talk Box พี่โอ้ โอฬาร

หลังการปรึกษาหารือกันอย่างเคร่งเครียดแบบปล่อยให้โซดาละลายน้ำแข็งจนน้ำสีอำพันเจือจางดีกรีลงบนโต๊ะประชุม การหาข้อสรุปเกี่ยวกับการพูดคุยในรูปแบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับมือกีตาร์คนไหนยังคงเป็นปัญหาให้ต้องครุ่นคิดถึงเช้าวันต่อมาในอาการแฮงโอเวอร์และบังคับบทบาทต่อมาด้วยการ “ถอน” บทสรุปที่ค้นพบคือชื่อของมือกีตาร์ผู้จัดอยู่บนทำเนียบหนึ่งในสิบสุดยอดฝีมือกีตาร์ของเมืองไทย โอฬาร พรหมใจ หรือที่รู้จักกันดีในแวดวงและเรียกแบบคุ้นเคยปากว่า พี่โอ้ โอฬาร บทบาทต่อมาหลังการสัมภาษณ์และเรียบเรียงคำพูดผ่านตลับเทปคาสเซ็ท เรา (ทีมงาน) หารือกันว่าเนื้อหาของ Talk Box ในตอนนี้จะแตกต่างไปจากบทที่ผ่านมา เราจะพูดถึงเนื้อหาอย่างไร เราจะเน้นแนวคิดและปรัชญาการทำงานของมือกีตาร์ผู้นี้ เรา (อาจ) จะทำให้ Talk Box ตอนนี้เป็นตอนเดียวที่แตกต่างไปจากตอนอื่น ๆ ในรูปแบบของการบอกเล่าเรื่องราวผ่านคำพูดที่เรียบเรียงบนประสบการณ์การทำงานดนตรีของมือกีตาร์ผู้นี้แทนที่การถามแบบคาดคั้น เราจะไม่พะวงกับคำด่าทอของแฟนหนังสือทีผิดหวังในการค้นหาแบบฝึกหัด และ ๆ ๆ …ขอเชิญแฟน ๆ ผู้อ่านติดตามเนื้อหาของ Talk Box กันตามอัธยาศัย

clip_image002 ชีวิตกับการเริ่มต้นบนเส้นทางดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์ การฝึกฝนด้วยตนเองและอาศัยคำแนะนำที่มีอยู่อย่างจำกัดของช่วงเวลาและสถานที่ (ต่างจังหวัด) คืออุปสรรคสำคัญในการฝึกฝนเรียนรู้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นจริงจังของเด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งที่ไม่น้อยไปกว่าเด็กในกรุงเทพฯใน พ.ศ.ที่สื่อการเรียนการสอนทางดนตรีมีอยู่มากมาย เวลากว่าสามสิบปีบนเส้นทางดนตรีอาชีพในหลายรูปแบบ การแกะเพลงด้วยตัวเองจากแผ่นเสียง การแอบมองมือกีตาร์รุ่นพี่แบบที่เรียกกันว่า “ครูพักลักจำ” เดินทางต่อมาถึงการเข้าร่วมวงดนตรี การร่วมแจมกับเพื่อนนักดนตรี แนะนำต่อมาในการเรียนรู้เครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด นั่นหมายถึงการสั่งสมประสบการณ์ที่ต่อมาเป็นพื้นฐานในการทำงานดนตรีของตัวเอง กับคำถามเกี่ยงกับการเรียนรู้เบื้องลึกทางทฤษฎีและเสียงร่ำลือถึงการเล่นการฝึกกีตาร์ที่หนัก คำตอบของคำถามที่ออกจากปากอย่างจริงจังของพี่โอ้ว่า “ก็เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาจากสมัยที่เรียนมัธยม พวกพื้นฐานการอ่านการเขียนโน้ต ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ตอนหลังพอเข้ากรุงเทพฯก็มาเรียนกับอาจารย์นพ อาจารย์โป๊ป และอีกหลายคน สำหรับเรื่องการฝึกกีตาร์นี่ช่วงแรก ๆ ก็ค่อนข้างหนัก เล่นอยู่ประมาณวันละ 10 ชั่วโมงได้ หลังๆ ก็ลดลงมาเหลือ 8 ชั่วโมง ช่วงนี้ก็เล่นอยู่วันละ 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ถ้าว่าง ๆ ก็จะจับกีตาร์ตลอด อย่างเวลานั่งดูทีวีก็จะเล่นไปด้วย คงต้องอาศัยเวลาจากช่วงนี้ให้เป็นประโยชน์”

ในช่วงเวลาสุกงอมของฝีไม้ลายมือกับผลงานที่สร้างชื่อให้กับพี่โอ้ “กุมภาพันธ์ 2528” ในนามดิ โอฬาร โปรเจค ช่วงเวลาก่อนหน้าที่ดนตรีเฮฟวี่ เมทัลจะระบาดในบ้านเรา ถือได้ว่างานชุดนี้เป็นงานนำร่องก็ไม่ผิด จากความหนักหน่วงของ Rhythm Section ความดุดันของเสียงร้อง และแน่นอนความกราดเกรี้ยวแต่สวยงามในท่วงทำนองของกีตาร์ทำให้งานอัลบั้มนั้นเข้าไปอยู่ในใจของคนฟังเพลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นหมายถึงอิทธิพลของดนตรีเฮฟวี่ เมทัลได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของมือกีตาร์ผู้นี้อย่างเต็มเปี่ยม และสานต่อเนื่องมาถึงอัลบั้ม “หูเหล็ก” ที่ยังคงความหนักแน่นของดนตรีเมทัลเอาไว้ได้เป็นอย่างดี หลายปีต่อมากับผลงาน “ลิขิตดวงดาว” เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีการทำงานอย่างค่อนข้างน่าแปลกใจสำหรับแฟนเพลงเดิม ๆ กับทิศทางดนตรีที่สุขุมขึ้น ความรุนแรงกราดเกรี้ยวที่ถูกทอนลงไป นี้หมายถึงอิทธิพลจากการเรียนรู้ทางดนตรีใน พ.ศ.ที่ผ่านมาผลักดันแนวคิดในการทำงานของมือกีตาร์ผู้นี้เปลี่ยนไป คำถามที่มีต่อมากับการศึกษางานดนตรีก่อนหน้าการทำงานชุดนี้ “ก็เริ่มฟัง Larry Carlton , Allan Holdsworth ชอบงานของเขานะ ฟังมาหลายปีแล้วตั้งแต่บ้านเรายังไม่มีใครรู้จักเลย ถ้าจะถามว่าดนตรีของเค้าเป็น Jazz , Fusion หรืออะไร ตามความรู้สึกส่วนตัวอยากจะเรียกว่าเป็น Individual Music มากกว่า เพราะดูจะจำกัดแนวทางการเล่นของเค้ายาก อาจจะเรียกว่าเป็น “ปัจเจก”ก็คงได้ ทุกคนอยากทำงานให้เป็นตัวของตัวเอง และ Holdsworth ก็จะมีสุ้มเสียงของตัวเองชัดเจนมาก” คำถามต่อมากับการทำงานของตัวเอง อิทธิพลในการศึกษางานดนตรีที่ผ่านมาเข้ามามีส่วนในการทำงานของตัวเองหรือไม่ อย่างไร “ อิทธิพล…(ครุ่นคิด) คงหลีกยากเพราะเราศึกษาอะไรจากเค้า แต่สิ่งที่มีอิทธิพลก็คือ เวลาคิดนี่เราพยายามคิดว่าเค้าคิดงานอย่างไรถึงได้เกิดสุ้มเสียงแบบนี้ออกมา นั่นคือสิ่งที่เราคิด มากกว่าที่จะไปเสียเวลาพยายามคิดลอกสำเนียงกีตาร์หรือก๊อปปี้ลูกนิ้วของเค้ามาใช้ ซึ่งตรงนี้บอกได้เลยว่าตัวเองไม่มีเพราะว่าเล่นยังไง ๆ ก็ไม่เหมือนเค้าหรอก จะพยายามให้เหมือนที่สุดก็คงเหมือนแค่ตัวโน้ตที่ใช้ แต่เรื่องของความรู้สึกหรืออารมณ์คงทำอย่างเค้าไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ต้องยอมรับ เลยคิดว่า เค้าคิดอย่างไรถึงได้เกิดวิธีการเล่นออกมาอย่างนั้น คิดไปถึงว่าเค้ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร สิ่งที่เค้าเล่นจึงแสดงออกมาอย่างนั้นได้ คือต้องมีความแตกต่างจริง ๆ ถึงจะโดดเด่นขึ้นมาในวงการได้ เพราะนักดนตรีบ้านเค้าชีวิตทั้งชีวิตทุ่มเทลงไปตรงนั้นหมด ทั้งสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมเค้ามา เราต้องยอมรับกันว่านักดนตรีในบ้านเค้ามีมากและฝีมือดี ๆ ทั้งนั้น แต่คนที่จะโดดเด่นขึ้นมาได้นั้นจะต้องมีอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษจริง ๆ เมื่อศึกษาและรับอิทธิพลในแง่วิธีการคิดของเค้ามาก็คงหลีกไม่พ้นที่จะนำมาใช้กับงานของเราเอง งานที่ทำออกมาจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่เราศึกษา คือคงบอกไม่ได้ว่าเราจะต้องมีรูปแบบการเล่นของตัวเองอย่างไร เมื่อก่อนคิดนะแต่ทุกวันนี้ไม้ได้คิดแล้ว คิดอยู่อย่างเดียวคือพยายามถ่ายทอดผลงานออกมาให้ได้อย่างที่ตัวเองคิดและรู้สึก ณ ช่วงเวลาปัจจุบันเราคิดอย่างไรก็จะนำเสนอผลงานออกมาอย่างนั้น จริง ๆ เลยการเล่นกีตาร์ของเรานี่มันไร้รูปแบบหมายความว่าบางทีวันนี้คิดอย่าง พรุ่งนี้อาจจะคิดอีกอย่างแล้วการเล่นมันก็จะออกมาแตกต่างกัน บางทีสิบวันอาจจะเล่นออกมาเหมือนกันหมดแต่ในชั่วโมงหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะเล่นอะไรที่ไม่เหมือนเดิมอีกก็เป็นได้ คือไม่ได้จำกัดตัวเองว่าจะต้องอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้นผลงานที่ผ่านมาก็จะแตกต่างกันออกไป คือมีตั้งแต่เสียงแบบ Rock N’ Roll หรือ Heavy Metal ในสมัยเริ่มต้นก็ชอบอะไรที่มันรุนแรงโครมครามตลอด แต่ถึงตอนนี้เรากลับชอบอะไรที่มันฟังสบาย ๆ คงไม่หนักเหมือนแต่ก่อนแล้ว”

พูดถึงการเล่นกีตาร์ของโอฬารที่ร่ำลือกันมากในเรื่องของการ Improvise ประโยคต่อมา “ ชอบการเล่น Improvise มาก คือเราคิดไงว่าการที่มีคนมาเฝ้าชมการแสดงของเราในแต่ละคืนนั้นน่าจะได้อะไรกลับไปบ้าง อีกอย่างก็คงเป็นเรื่องของอารมณ์ หรืองานนั้นมันนานมากจนเราจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะช่วงไหนที่เราหมกมุ่นอยู่กับการคิดงานใหม่ ๆ ก็คงจะมีบ้างที่เราต้องทำตรงนั้น ไม่อยากพูดว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ถ้ามีบางอย่างที่ติดหูมาก ๆ และเราจำได้ก็จะพยายามคงไว้เหมือนกัน “

clip_image004 คำถามต่อมาเราพยายามค้นหาคำตอบในแนวลึกของการ Improvise ที่เกิดขึ้นในการแสดงสดและปรากฏในชิ้นงานที่ได้ยินได้ฟังกันมา คำตอบที่ได้น่าสนใจไม่น้อย “ ฝึกหนักมาก อย่างที่บอกว่าเคยเล่นถึงวันละ 10 ชั่วโมง ฝึกทุกอย่างโดยเฉพาะเรื่องการ Improvise ก็ต้องเข้าใจเรื่องของสเกล/โมด ที่ใช้อยู่บ่อย ๆ ก็มีพวก Dorian และ Phrygian และก็มี Mixolydian แต่เราจะไม่ได้กำหนดว่าในเพลงของเราจะต้องใช้เฉพาะโมดใดโมดหนึ่ง เพราะเรื่องราวของแต่ละเพลงมันแตกต่างกันออกไป มันจะมีเมโลดี้บางอย่างที่คิดขึ้นมา บางทีเราก็สามารถนำเอาโมดบางโมดเติมเข้าไปได้ ซึ่งการที่เราจะใช้โมดอะไรนั้นมันขึ้นอยู่กับความต้องการของเราในช่วงเวลานั้น บางทีก็เติมพวกโน้ตบลูส์ หรือพวกเพนตาโทนิคลงไป คือดนตรีที่ทำออกมาก็จะไม่จำกัดรูปแบบใช้อะไรได้หลาย ๆ อย่าง ก็อาจจะเรียกว่า เป็นการเล่นตามเนื้อหา เนื้อหาของบทเพลง และเรื่องราวที่มีปรากฏในบทเพลง แต่เรื่องของโมดก็คงไม่ใช่คำตอบสำหรับการทำงานของเราทุกอย่าง เพราะในความคิดของตัวเองบางครั้งที่เราเรียนรู้เรื่องโมดหรือสเกลอะไรต่าง ๆ นี้ ไม่แน่ว่าบางทีมันอาจจะเป็นการจำกัดจินตนาการของเรา แน่นอนว่าการเรียนรู้นั้นย่อมเป็นการดีเพราะถือว่าเป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ แต่ยังไงโมดก็ยังคงเป็นโมดอยู่วันยังค่ำ เหมือนการท่องหนังสืออยู่บนที่นอนยังไม่ได้ลุกออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอกที่ทำให้ตัวเองกระฉับกระเฉง กับการทำงานเราควรใช้จินตนาการใช้ความรู้สึกของเราเป็นตัวกำหนดมากกว่าว่าเราจะต้องใช้โมดนี้ใช้โมดนั้น รู้สึกอย่างไรก็ควรเล่นออกมาอย่างนั้น การเอาโมดมาเป็นตัวกำหนดมันก็เหมือนกับการทำงานตามสูตรสำเร็จ เพราะถ้าบางทีสิบคนฝึกโมดเดียวกันมาฟอร์มนิ้วมันก็จะเหมือนกันหมดสิบคน ถึงเวลาทำงานออกมาก็คงจะไม่แตกต่างอะไรกันเลย คงแตกต่างกันแค่ในรายละเอียดปลีกย่อยว่าดีดอย่างไร แต่เสียงของสเกลมันก็คงจะอยู่แค่นี้ถ้าเรายังคงใช้โมดเป็นตัวกำหนดการทำงานของเรา และก็อาจจะฟังดูน่าเบื่อ ตรงกันข้ามถ้าเราไม่ยึดติดอยู่กับเรื่องนี้ ในคอร์ดเดียวกันเราสามารถสร้างงานออกมาได้อย่างมีชั้นเชิงและเป็นสุ้มเสียงที่เป็นปัจเจกของเราได้ดังนั้นคิดว่าการเล่นอะไรออกมาเราควรอาศัยความรู้สึกของเราคือเล่นในสิ่งที่เรารู้สึกและอยากให้เป็น”

คำถามต่อมากับสุ้มเสียงสำเนียงกีตาร์ของโอฬาร “ ไม่รู้เหมือนกัน ตรงนี้คงขึ้นอยู่กับคนฟังเขาจะว่ายังไง แต่ในเรื่องของการปรับแต่งเสียงกีตาร์คนส่วนใหญ่จะรู้ทันทีว่าเป็นเสียงกีตาร์ของเรา แต่เราก็ไม่ได้สนใจตรงนี้มากนักว่าจะต้องพยายามปรับแต่งเสียงกีตาร์ให้ได้คงเดิมเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของเรา บางครั้งรูปแบบการปรับหน้าตู้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่แน่นอน บางทีก็ขึ้นอยุ่กับอารมณ์ด้วย เพราะบางครั้งเราอยุ่ในช่วงอารมณ์สบายใจการปรับเสียงกีตาร์ของเราก็จะออกมาในแบบหนึ่ง ในขณะที่สถานการณ์ตรงกันข้ามเสียงกีตาร์ของเราอาจจะไม่เหมือนที่เคยหรือไม่ได้อย่างที่ใจคิด นี่เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือการเล่น ที่เป็นส่วนตัวจริง ๆ ก็คงเป็นพวกการเล่น Vibrato หรือรูปแบบการดีดแบบ Triplet ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่วลีกีตาร์ของโอฬารที่จะได้ยินกันบ่อย ๆ คือเสียงทาง Natural Minor ที่เราชอบเล่นเพราะฟังแล้วสบายหู มันแฝงความรู้สึกเหงา คือมันจะตรงกับชีวิตเราด้วยในสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมา เมื่อก่อนเราเคยลำบากมา เหงา สงสารตัวเอง อะไรอย่างนี้ แต่ถ้าเราใช้ Major ความรู้สึกมันก็จะสดใสสว่าง วันไหนที่เราสบายใจก็อาจจะเล่นออกมาอย่างนั้นก็ได้ นี่คืออีกอย่าง ส่วนในเรื่องของพวกเทคนิคอย่าง Tapping นี่จะไม่มีเพราะเราเป็นคนเล่นกีตาร์ที่ไม่ชอบการเล่นเทคนิค เทคนิคของโอฬารคือการดีดเพียงอย่างเดียว ตัวโน้ตทุกตัวจะมาจากการกดของมือซ้ายและการดีดจากมือขวาเท่านั้น ส่วนในเรื่องของคันโยกก็จะมีบ้างแต่ไม่บ่อยนัก”

clip_image005 เมื่อถามถึงการทำงานในห้องบันทึกเสียงคำตอบที่ได้ค่อนข้างคลี่คลายปริศนาหลายอย่างเกี่ยวกับวิธีการทำงานของมือกีตาร์คนนี้ “ถ้าพูดถึงท่อนโซโล่นี้จะมีทั้งการแต่งเอาไว้ก่อนและการคิดขึ้นสด ๆ ในแนวทางของตัวเองการคิดคือการเอาสิ่งที่เราได้คิดไว้แต่กระจัดกระจายอยู่รวบรวมเป็นข้อสรุปให้ได้ จะสังเกตง่าย ๆ จากงานเก่า ๆ อย่าง “ไฟปรารถนา” นี่เกิดจากการคิดแต่งโดยตรงและสรุปออกมาอย่างที่ได้ฟังกัน ส่วนของการคิดขึ้นสด ๆ แบบ Improvise ในห้องอัดนั้นมักจะเป็นการทำงานในช่วงที่นักดนตรีคนอื่นไม่อยู่ คือจะอยู่สองคนกับซาวด์เอ็นจิเนียร์ ต้องการสมาธิมาก ต้องปิดไฟในห้องอัดด้วย บางทียังรู้สึกไม่สงบพอก็ต้องหันหน้าเข้าหามุมใดมุมหนึ่งของห้องที่จะทำให้รู้สึกว่าตัวเรามันใหญ่โตขึ้น มีพลังมากขึ้น นี่คือวิธีการทำงานของโอฬารในห้องอัด จะเลือก Improvise อยู่ประมาณ 2 – 3 เทคจนกว่าจะพอใจ มีเหมือนกันที่ต้องเล่นกันเป็นสิบเทคกว่าจะได้ที่พอใจ สำหรับการ Improvise ก่อน ๆ จะทำแบบผสมผสานกับบางอย่างที่คิดเอาไว้คร่าว ๆ ล่วงหน้า แต่ตอนนี้ชอบที่จะ Improvise เอาสด ๆ ทั้งหมดมากกว่า และเราจะเป็นคนเล่นกีตาร์ที่ไม่ได้ยึดแบบแผนเลย โดยเฉพาะในการแสดงสดนี่จะเล่นตามใจตัวเองมาก”

clip_image007 จากคำตอบในเชิงอรรถาธิบายแจกแจงอย่างค่อนข้างลึกซึ้งเกี่ยวกับ”แนวคิด”ของมือกีตาร์ผู้นี้ นั่นหมายถึงคนเล่นกีตาร์ผู้จัดเจนบนคอกีตาร์ผ่านเวลาที่นับหน่วยกันเป็นทศวรรษ คำถามต่อมาสำหรับมือกีตาร์ผู้เริ่มต้นบนถนนสายเดียวกันกับคำแนะนำในการฝึกฝน คำตอบที่ได้น่าสนใจแบบต้องบันทึกไว้บนกระจกเพื่อการอ่านทบทวนระหว่างการแปรงฟันทุกเช้าว่า”ทุก ๆ อย่างที่ทำอยู่ต้องทำด้วยความมุ่งมั่นและชัดเจน เรามาจากพื้นฐานตรงไหนก็ตาม เราต้องรู้จักตัวเราเอง อย่าดูถูกตัวเอง ควรสร้างวิธีการคิดของตัวเอง การฝึกกีตาร์นี่ไม่ใช่หมายถึงการก้มหน้าก้มตาฝึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว เราควรจะรู้ในสิ่งที่เราต้องการ นั่นก็คือต้องรู้จักตัวเอง อย่าดูถูกตัวเอง เพราะถ้าเรานั่งฝึกอะไรสักอย่าง ๆ พวกโมดอยู่นานเป็นห้าปีหรือสิบปี เวลาเล่นอะไรออกมามันก็จะยังคงเป็นอะไรเดิม ๆ อยู่อย่างนั้นวันยังค่ำ เพราะเราจะมีแต่ความชำนาญ แต่ในเรื่องมันสมองที่จะใช้ในการคิดเราจะไม่ได้ฝึกฝนมันเลย คำพูดตรงนี้อาจจะไม่กระจ่างนักคงต้องมีการขยายความกันอีกพอสมควร หลังผ่านการฝึกฝนเรียนรู้พอสมควรและมั่นใจว่าเราสามารถที่จะคิดและทำอะไรได้ด้วยตัวเองแล้วก็ขอให้เริ่มลงมือทำ อย่ากลัวที่จะลงมือทำ มันเหมือนเราจุดประกายให้ตัวเอง ถ้าเราเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างเราจะเกิดความรู้สึกภูมิใจ เราสามารถสร้างสิ่งที่เป็นความคิดของเราออกมาเป็นบทเพลงได้ มันจะช่วยจุดประกายให้เรากล้าคิดกล้าทำอะไรต่อไป ขอให้มีความตั้งใจ จริงใจและจริงจังกับสิ่งที่เราทำ และขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จ

clip_image009 หลังการพูดคุยกับมือกีตาร์ผู้นี้ สิ่งที่ได้รับจะมีคุณค่าหรือไร้สาระขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้อ่านแต่ละคนจะพิจารณากันไป แต่เรามั่นใจในสิ่งที่เรานำเสนอว่ามีคุณค่าเพียงพอสำหรับคนดนตรีผู้คนหาแนวคิดและปรัชญาในการทำงานมากกว่าวิ่งไล่เหยียบเงาตัวเองบนแบบฝึกหัดกีตาร์หลายพันหลายหมื่นบทเรียนแต่คิดอะไรเองไม่เป็น !!! ขอโทษถ้าคำกล่าวในบทปิดท้ายฉบับนี้รุนแรงและแทงใจดำใครเข้า แต่ผู้เขียนปรัชญาโบราณว่า ”ยาดีย่อมขมปาก” นี้เป็นคำยืนยันที่เป็นจริงจากรุ่นถึงรุ่น จาก พ.ศ.ถึง พ.ศ. แล้วเราชาว Overdrive จะยอมรับกันไม่ได้เชียวหรือ

clip_image011

ไฟปรารถนา

clip_image013

พี่โอ้ โอฬาร

สุดยอดมือกีตาร์แห่งสยามประเทศ

อ้างอิง : Talk Box,Overdrive Magazine No.10