พื้นที่ของแหล่งความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจ รวบรวมจากบทความ และบทเรียน ต่างๆใน Overdrive , Rhythm Section และ Com Music ซึ่งเป็นหนังสือในเครือ PMG โดยเฉพาะเล่มเก่าๆ ที่ตอนนี้หาซื้อไม่ได้แล้ว ซึ่งมีบทความมากมายที่รอให้ทุกๆคนได้สัมผัส

Monday, October 15, 2007

"25 Licks You Must Know"

MUSIC SPOKEN AREA by Prart

From: Music Spoken Area ,Overdrive Magazine No.4&6, August-October 1998.

ในตอนนี้ผมจะขอพูดถึงเรื่อง Blues สักหน่อย เพราะพอดีผมไปเห็นหนังสือ Guitar Magazine ได้เขียนรวบรวม Lick ที่เด่นมาก ๆ ใน Blues โดยใช้หัวข้อว่า "25 Licks you Must Know" หรือก็คือ"25 Licks" ที่คุณจะต้องรู้" เป็น Lick ที่โดดเด่นของเซียน Blues ทั้งหลาย ในการที่เราเรียนรู้นี่เป็นการศึกษา นะครับ ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ พอคุณรู้ว่าอะไรคืออะไรทีนี้คุณต้องนำเอาสิ่งเหล่านี้มาพัฒนากันต่อไป และคุณก็จะรู้ว่าดั้งเดิมของ Blues เป็นอย่างไร

Ex.1 เป็น Lick ของ Jimi Hendrix เทพเจ้าหัวฟูที่เหนือคำบรรยาย อยู่ในฮาร์โมนี่ของ I7 Chord (หมายความว่า คุณสามารถใช้เรื่องนี้กับคอร์ด I7 ของเพลง เช่น ถ้าเพลง Key A Lick นี้ก็จะใช้ในคอร์ด A7เรื่องตรงนี้ผมเคยเขียนมาแล้ว ลองดูเล่มเก่า ๆ ที่ผมเขียนถึง) เป็นการใช้ Chromatic Note (โน๊ตครึ่งเสียง)ผสมกับ Blues Line ในรูปร่างของ Tritone (3 เสียงเดิม G-C# ลองเล่นดู และดูสัดส่วนของโน๊ตดีๆ ด้วย

EX.1

Ex.2 Lick นี้เป็นของ BB.King ที่อยู่ในฮาร์โมนี่ของคอร์ด I7 เข้าไปหา IV 7 (A7-D7) เป็น Lick ที่ดีสำหรับ 2 คอร์ดนี้สังเกตดูเขาจะใช้เป็นรูปของ Arpeggio มากกว่า Scale เพราะจะให้สีสันของคอร์ดได้ดีกว่า

EX.2

Ex.3 ตรงนี้เป็นของ Stevie Ray Vaughan อยู่ในคอร์ด I7-IV 7 เช่นกัน เป็น Lick ที่ให้สีสันของ Blues ได้ดีมากต้องลองเล่นดูแล้วจะรู้เชื่อผมเต๊อะ

EX.3

Ex.4 เป็น Lick จากเพลง "Leave My Girl Alone" ในอัลบั้ม Left My Blues in San Franciscoของ Buddy Guy แต่ Stevie Ray Vaughan นำมาใช้จนเป็นเอกลักษณ์ของเขาเลยทีเดียว (เห็นไหม Stevie Ray ก็ต้องเรียนรู้จาก Original อีกที แล้วค่อยสร้างแนวทางของตนเอง) ใน Lick นี้เป็นการใช้ Double-Stop (คู่ประสาน) ใช้นิ้ว 3 สไลด์ โน๊ต Flat 5 เข้า ๆ ออกๆ ใน Lick ให้ความเป็น Blues ดีมากเลยทีเดียว

EX.4

Ex.5 คราวนี้เป็นของ T.Bone Walker เป็น Lick ที่เขาใช้เป็นยี่ห้อของเขาเลย เขาใช้ในเพลง StormyMonday และเพลงอื่น ๆ ของเขาอย่างมากมาย Lick นี้เป็นการใช้โน๊ต 9 (A ใน Key G) ซึ่งสร้างเอกลักษณ์ให้กับ T.Bone ได้เลยทีเดียว

EX.5

วันนี้เราเริ่มด้วย 5 Lick กันก่อน ลองเล่นให้ได้และดู Key ของแต่ละ Lick ด้วยพร้อมกับสัดส่วนของโน๊ต ทีนี้จะมีข้อแนะนำในการฝึกฝน Lick เหล่านี้ คือ

- เล่น Lick เหล่านี้ให้ได้จนเป็นธรรมชาติ คือไม่แข็งเหมือนการอ่านโน๊ตเหมือนกับเราคิดของเราเอง แล้วก็เปลี่ยน Key ไปทุก ๆ Key บนกีตาร์ ยิ่งจะสร้างความคล่องตัวให้มากขึ้น

- ดูให้แน่ใจว่า Lick ที่เล่นอยู่ใน Key อะไร และตำแหน่งคอร์ดที่เท่าไหร่ใน 12 Bar-Blues - นำมาใช้กับ Solo ของเราให้ได้อารมณ์ ดั่งเช่นเซียนทั้งหลาย ถ้ายังไม่มีความรู้สึกนี้แสดงว่ายังเข้าไม่ถึง Blues เล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมี ถึงเวลานั้นคุณก็จะรู้ว่า Blues คืออะไร

จำหลักการนี้ไว้ดี ๆ ใช้ได้ตลอดกับ Blues เราไปดูกันต่ออีก 5 Lick

Ex.6 T-Bone Walker Lick เป็น Lick ง่าย ๆ เล่นไม่กี่โน๊ต แต่มีเสน่ห์เหลือรับประทาน อยู่ในฮาร์โมนี่ ของ Chord IV7 ให้ความสำคัญกับการ Vibrato ด้วย

EX.6

EX.7 คราวนี้เป็นของ Hubert Sumlim ผู้มีอิทธิพลต่อ Eric Clapton และ Michael Bloomfield Lick นี่อยู่ในเพลง "Shakae For Me " อยู่ในฮาร์โมนี่ V7-IV7-I7 ลองสังเกตดูโน๊ต 1/2 เสียงในห้องที่ 2 เป็นประโยชน์มากใน Blues

EX.7

Ex.8 Lick นี้เป็นของ Peter Green แห่ง Fleetwood Mac เป็น Minor Blues เขาผู้นี้คือคนหนึ่งในการคิดค้นก่อสร้าง Minor Blues ขึ้นมา Lick นี้อยู่ในเพลง "Black Magic Woman" (ไม่ไช่ของ Santana นะ ชื่อเหมือนกันเท่านั้น) อยู่ในฮาร์โมนี่ lm7-V7 ลองเล่นดู

EX.8

Ex.9 คราวนี่ถึงคราวของ Wes Mantgomery นักกีตาร์แจ๊สผู้ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลของ Blues อยู่เต็มตัวของเขาใน Lick นี้ถือเป็น Jazz Blues เขาใช้ A Note กับคอร์ด Ab7 เพื่อให้เกิดสุ้มเสียงของ Flat 9thคุณต้องลองเล่นดูแล้วจะรู้ว่าทำไมคนถึงได้ยกย่อง Wes กันนัก Lick นี่อยู่ V7-lm7 ลองหางานของเขาผู้นี้ฟังดูเชื่อผม!

EX.9

Ex.10 Kenny Burrell คือนักกีตาร์ Jazz Blues อีกคนที่ลืมเสียไม่ได้ คุณต้องฟังอัลบั้ม "Midnight Blues" แล้วคุณจะรู้ Lick นี้แสดงให้เห็นถึงว่า คุณจะใช้ flat 5th Double-Stop ได้อย่างไร ใน Jazz อยู่ใน V9-I7 Chord

EX.10

Ex.11 เป็น lick ของ KENNNY BURRELL ในฮาร์ไมนี่ VI-IV7-I7 เป็น LICK ที่ไม่ซับซ้อนใน SWING FELL แต่น่าสนใจมาก

Ex. 12 ALBERT KING ผู้ยิ่งใหญ่ LICK นี้อยู่ในช่วงต่อระหว่าง I7-IV7 เป็นการเล่น ANTICIPATION ( การเล่นฮาร์โมนี่ของคอร์ด ก่อนที่คอร์ดนั้นจะถึง ในที่นี้ก็คือเล่น ฮาร์โมนี่ของ Eb9 ในบีทที่ 4 ของ Bb7 สังเกตดู

Ex. 13 ALBERT อีกหนึ่ง อยู่ใน IV7-I7 มาจากเพลง "STRANG BREW" ของ ERIC CLAPTONตอนอยู่กับ CREAM เป็น LICK เดียวกันเลย นี่คืออิทธิพลที่ ALBERT KING มีต่อ CLAPTON LICK นี้ไอเดียดีมาก คุณต้องเล่นและวิเคราะห์ดู

Ex. 14 ALBERT KING อีกทีเป็น CHROMATIC BEND (ดันสายที่ละ 1/2 เสียงอยู่ใน I7 GARY MOORE ก็นำ LICK นี้มาใช้ในเพลง "AFTER HOURS" ของเขา นี่คืออิทธิพลที่ ALBERT มีต่อนักกีตาร์ BLUES รุ่นหลัง ๆ อย่างมากมาย และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไม่เราถึงต้องเรียนรู้ LICK เหล่านี้

Ex. 15 BILLY GIBBONS แห่ง ZZ TOP อยู่ในเพลง "JESUS JUST LEFT CHICAGO" เป็น LICK ที่อยู่ใน V7 ของท้ายท่อน โดยเขาก็ได้รับอิทธิพลมาจาก ROBERT JOHNSON อีกที ลองเล่นดู

Ex. 16 วันนี้ถึงคราวของ BLUES ผิวขาว MICHAEL BLOOMFIELD นี่คือลักษณะเด่นของ BLOOMFIELD การใช้ SIXTEENTH NOTE ใน BLUES LICK นี้อยู่ใน I7 ใน KEY G

E

Ex. 17 LICK นี้เป็นของ FREDDLE KING อยู่ใน KEY G เป็นช่วงของคอร์ด lV กลับเข้าหา I(บาร์ที่ 6 มา 7 ใน 12 ห้อง) เป็นการใช้ INTERVAL ข้ามกันไปใน TRIPLET สวยงามมาก

Ex. 18 LICK นี้เป็น TURN AROUND ( LICK ในบาร์ที่ 11-12 เพื่อใช้ส่งกลับไปหาห้องที่ 1 ใหม่) เป็นของ FREDDLE KING เช่นกัน LICK นี้มือกีตาร์ในยุคปลาย 60 ใช้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ERIC CLAPTON, PETER GREEN, MICHEAL BLOOMFIELD ฯลฯ อยู่ใน KEY A

Ex. 19 คราวนี้เป็นหน้าที่ของ PETER GREEN มือกีตาร์วง BLUESBREAKERS ผู้โด่งดัง เป็น LICK ในเพลง "THE STUMBLE" จากอัลบั้ม "A HARD ROAD" อยู่ใน KEY E เป็น LICK ในสำเนียงของ BRITISH BLUES (BLUES จากอังกฤษ) อย่างชัดเจณ

Ex. 20 MICK TAYLOR มาแทน PETER GREEN ในยุคต่อมาของ BLUESBREAKERS อยู่ใน KEY E เป็นการใช้ BENDING (การดันสาย) อย่างยอดเยี่ยม

Ex.21 เป็น Lick ของ Robben Ford ใช้กับคอร์ด IV 7 ให้เสียงหยดย้อยเขาใช้ tritone ในคอร์ด IV7 นี้ในสไตล์ T Bone Walker

Ex.22 Robert Clay lick ในคอร์ด IV 7 เขาใช้ในเพลง Midnight Stroll ของเขา lick นี้ต้องใช้คอร์ด IV นะครับ เสียงถึงจะสะใจโก๋

Ex.23-24 เป็น lick ของ Magic Sam ผู้มีอิทธิพลต่อมือกีตาร์บลูส์อีกมากมาย

Ex.25 lick สุดท้ายก็ขอจบด้วย Stevie Ray ละกันเป็น lick ที่เขาชอบใช้กันในคอร์ด V7 โดย lick นี้ได้รับอิทธิพลมาจาก Albert King เต็มๆ เล่นด้วย down stroke (ดีดลง) และปรับเสียงใหญ่ๆหน่อยเยี่ยมแน่กับ lick นี้

ผมกล้ารับประกันว่า ถ้าคุณเล่น LICK ทั้งหมดนี้ได้อย่างคล่อง และใช้ได้ถูกตำแหน่ง สำเนียง การเล่น BLUES จะต้องดีขึ้น อย่างที่ตัวคุณเองอาจจะตกใจตัวเอง "นี่ตัวผมเองแหละ" ลองฝึกดู อย่ารอช้า จำคำกล่าวนี้ไว้ "พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว"

อ. ปราชญ์ บรรเลงเพลงระนาด

อ้างอิง : Music Spoken Area ,Overdrive Magazine No.4&6 , August-October 1998.

No comments: