พื้นที่ของแหล่งความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจ รวบรวมจากบทความ และบทเรียน ต่างๆใน Overdrive , Rhythm Section และ Com Music ซึ่งเป็นหนังสือในเครือ PMG โดยเฉพาะเล่มเก่าๆ ที่ตอนนี้หาซื้อไม่ได้แล้ว ซึ่งมีบทความมากมายที่รอให้ทุกๆคนได้สัมผัส

Thursday, November 29, 2007

WEAPONS OF DESTRUCTION

10 สุดยอดกีตาร์, แอมป์ และ เอ็ฟเฟ็คท์ของชาว heavy metal

by Chris Gill

From: Overdrive Guitar Magazine No.68, February 2004.

TOP 10 METAL GUITARS

10) Fender Stratocaster กีตาร์ที่เป็นยอดนิยมสำหรับคนทั่วโลกอาจไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับกีตาร์ metal (นี่แปลว่ามีวัยรุ่นชาวบลูส์มากกว่าขา metal หรือเปล่าเนี่ย?) กระนั้น กีตาร์ตัวใดก็ตามที่มีบุญพอที่จะคู่ควรกับ Iron Maiden, Andreas Kisser, Richie Blackmore และ Yngwie Malmsteen ต้องอยู่ในรายชื่อลำดับนี้แน่นอน

clip_image002

9) Schecter Diamond Series มือกีตาร์ที่โด่งดังหลายคนที่เลือกเล่น Schecter ประเภทต่างๆ มากมายจนเราไม่สามารถที่จะเลือกระบุว่าจะพูดถึงรุ่นไหนดี แต่หลังจากที่ Jack Owen แห่ง Cannibal Corpse พูดว่าเขาจะหั่นผมเป็นชิ้นๆ และกินผมเสียถ้าผมไม่พูดถึง Schecter Diamond Series C-7 LE เจ็ดสายของเขาผมก็ขอบอกว่า เอาล่ะผมยอมแล้วครับ

clip_image004

8) Paul Reed Smith Custom ถ้ามีวง metal ออกมาบอกว่าต้องการคนที่เล่น Reed อย่าถือแซ็กโซโฟนไปเสนอหน้าให้เขาเห็นซะล่ะ นอกจากว่าคุณอยากลองของต้องการรู้ซึ้งถึงนิยามที่ว่า "metal up your ass" อย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำก็คือจงหยิบกีตาร์ Paul Reed Smith กีตาร์ที่ถูกใช้โดย Paul Allender แห่ง Cradle of Filth, Jim Root แห่ง Slipknot และ Clint Lowery แห่ง Sevendust

clip_image006

7) Gibson Explorer เป็นกีตาร์ที่มีรูปทรงเหมือนสายฟ้า ให้ความเป็น metal อย่างถึงกึ๋น James Hetfield ใช้เพียง Explorer ตัวสีขาวของเขาในการบันทึกเสียง rhythm ใน Ride the Lightning อัลบั้มที่จุดประกายให้กับวง metal นับล้าน

clip_image008

6) ESP Signature Series ถึงแม้จะไม่มีใครบอกเราได้ว่า ESP ย่อมาจากอะไร ("Eighties Spandex Pants" งั้นเหรอ? หรือว่า "Extra Small Pizza"?) เราเชื่อว่ามันย่อมาจาก "Evil Satan's Plan" เพราะว่ามือกีตาร์ metal ส่วนมากเล่น ESP กันทั้งนั้น Signature Series ของทางบริษัทรุ่นปัจจุบันนั้นมีรุ่นที่ออกแบบโดยสมาชิกของ Megadeth, Metallica และ Slayer ด้วย dream team ปิศาจชัดๆ เลยนะนี่

clip_image010

5) Jackson Randy Rhodes V Randy Rhodes ได้ออกแบบกีตาร์ทรงครีบฉลามนี้หลังจากที่เขาเข้ามาร่วมวงกับ Ozzy Osbourne เหล่าพลพรรคในวง black metal อย่าง Dimmu Borgir ก็ใช้กีตาร์ Rhodes พวกเขาเรียกมันว่า "mwa , a , laay bahgog"

clip_image012

4) Ibanez 7-String Universe ในตอนแรก Nigel Tufnel ออกแบบแอมป์ Marshall ที่ปรับขึ้นไปได้ถึง 11 ยังไม่หยุดแค่นั้น Steve Vai ได้พัฒนากีตาร์ให้มีสายที่เจ็ดเพิ่มขึ้นมา ต่อมา Munky และ Head แห่งวง Korn ก็นำ Ibanez เจ็ดสายนี้มาใช้เป็นแบบฉบับของตัวเอง จูนสายต่ำลงหลายคีย์และกางเกงพวกเขาก็จะใส่ต่ำลงเรื่อยๆ จนขอบกางเกงเกือบจะถึงเข่า บันทึกอีกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีกีตาร์ metal นั้นก้าวไปหาจุดต่ำสุด Messuggah และ Fear Factory ก็ชอบมันเช่นกัน

clip_image014

3) Gibson SG ด้วยเขาปิศาจเรียวแหลมของลำตัว Gibson SG ที่เหมือนรูปทรงของหัวปิศาจซึ่งยิ่งพาให้ตีความกันไปได้ว่า SG อาจย่อมาจาก "Satan's Guise" แม้กระนั้น Tony Iommi แห่ง Black Sabbath และ Angus Young แห่ง AC/DC ก็ไม่เคยตกยุคตั้งแต่ใช้ SG ของพวกเขา

clip_image015

2) B.C. Rich Warlock มาเผชิญหน้ากับมันดูหน่อย นี่คือกีตาร์ที่ตั้งชื่อให้กับพ่อมด ทรวดทรงเพิ่มความแหลมคมของส่วนโค้งเว้ายิ่งกว่าอาวุธกังฟูที่จะไม่เคยเห็นบนเวที Lilith Fair แน่นอน กีตาร์นี้สำหรับ metal เพียวๆ ไม่มีอะไรเจือปน ซึ่งมันก็อธิบายได้ดีว่าทำไม Kerry King แห่ง Slayer และ Mick Thomson แห่ง Slipknot จึงรักกีตาร์ Warlock ของเขานัก ยังไม่เชื่อใจถึงที่มาที่ไปของ Warlock อีกรึ? มันผลิตจาก New Jersey เชียวนะ

clip_image017

clip_image0191) Gibson Les Paul แม้ว่ากีตาร์ Gibson Les Paul อาจจะมีรูปร่างไม่เหมือนเขี้ยวปิศาจหรือตุ๊กตาอาถรรพ์ใดๆ แต่ riff metal นั้นเล่นออกมาจาก Les Paul มากกว่ากีตาร์ใดๆ มือกีตาร์ตั้งแต่ Ace Frehley จนถึง Zakk Wylde นั้นยกให้ Les Paul เป็นกีตาร์เบอร์หนึ่งของพวกเขา มันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้สร้างซาวด์ metal ของ Tool, Godsmack และ Hatebreed

TOP 10 METAL AMPS

10) Peavey Triple XXX นี่เป็นเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแอมป์จะต้องเปิดกว้างหันมาร่วมมือกับวงการ metal บ้าง ซาวด์ที่ดุดันนี้เป็นที่โปรดปรานของ Max Cavalera ถึงแม้ว่าเขาอยากจะให้มีสาม input ก็เถอะ

clip_image021

clip_image0229) Mesa/Boogie Dual Rectifier Road King ผลงานจาก Mesa/Boogie ที่ได้ผลิต Dual Rectifier นี้มีแนวคิดที่ว่าต้องการจะให้มือกีตาร์กำหนดเสียง bottom end จะมากหรือน้อยได้ตามแต่ต้องการและไม่มีเสียงแตกระเบิดไม่ว่าจะเล่นเสียงคลีนหรือเสียงรก แอมป์ Road King มีความสามารถมากมายด้วย four-channel head สามารถให้โทนเสียงได้มากตามที่คิด มือกีตาร์จากวง Korn บอกว่ามันคือหัวแอมป์ที่ดีที่สุดที่เขามีนอกเหนือจากบริเวณเวที

8) Marshall MF350 ว่ากันว่า MF มีชื่อเล่นคือ "Mother Fuck" รูปลักษณ์ที่ผ่านการผสมผสานของเจ้าวายร้ายหน้าใหม่ตัวนี้มีคุณสมบัติทั้งที่เป็นที่สุดในด้าน tube, solid-state และ digital technology เพื่อให้ซาวด์ที่กระหน่ำรุนแรงได้ตามที่มือกีตาร์ metal รุ่นใหม่ๆ ต้องการ Hatebreed, System of a Down และ Staind เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นแฟนของแอมป์ชนิดนี้

clip_image023

7) Line 6 HD 147 มือกีตาร์ metal เคยต้องพึ่งสิ่งเล็กๆ น้อย เมื่อคำว่า "line" นั้นถึงทางตันแล้ว แต่ในวันนี้เพียงทำหน้าที่กับสายกีตาร์ไปก็พอ นั่นเป็นเพราะว่า Line 6 HD 147 สามารถทำเสียงแอมป์ยี่ห้อดังต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ นี่ยังไม่ได้พูดถึงเสียงของแอมป์ boutique custom ที่เป็นที่ชื่นชอบของนักดนตรี metal ทั้งหลาย just say "yo!"

clip_image025

6) Marshall Valvestate 8100 ซาวด์แบบ Death เป็นอย่างไรน่ะเหรอ? ถ้าคุณเป็นแฟนของ Chuck Schuldiner ผู้ทรงอำนาจ คุณอาจจะพูดได้ว่า มันคือ Marshall Valvestate 8100 ผู้ที่ใช้ Valvestate 8100 อย่าง Tommy Victor (Prong), Wayne Static (Static X) และ Riggs (Rob Zombie) คือตัวอย่างของผู้ที่ใช้

clip_image027

5) VHT Pittbull Ultra Lead เป็นดั่งเช่นชื่อที่มันบอก แอมป์มากพิษสงนี้จะกัดคุณเสียกระจุยหากไม่ระวังมันให้ดี Mick Thomson แห่ง Slipknot และ Page Hamilton แห่ง Helmet คือสองผู้ใช้ที่ถูกสัตว์ร้ายตัวนี้ปล่อยมาได้เพื่อมาเล่าถึงเรื่องนี้ให้ผู้อื่นได้รับรู้

clip_image029

4) Randall Warhead Bush นั้นเข้าใจผิดทั้งเพเพราะว่าอาวุธทำลายล้างที่แท้จริงแล้วนั้นซ่อนอยู่ในห้องใต้ดินของ Dimebag Darrell ใน Texas มือกีตาร์เคราม่วงแห่ง Pantera/Damageplan ออกแบบแอมป์ Warhead เพื่อให้ได้โทนเสียงสังหารอันรุนแรงสุดๆ กว่าที่เคยปรากฏบนพื้นโลก (แม้ว่ามันจะไม่ใช่นิวเคลียร์ก็เถอะ) ในราคาที่แม้แต่ประเทศเผด็จการโลกที่สามก็สามารถซื้อได้

clip_image030

3) Bogner Uberschall ไม่ใช่ครับ "uberschall" ไม่ใช่สโลแกนหาเสียงของ Arnold Schwarzenegger แต่มันเป็นภาษาเยอรมันหมายถึง "supersonic" (เร็วกว่าเสียง) และถ้าคุณกำลังอยากได้ซาวด์โหดๆ ใช้โปรดจำไว้ว่า Bogner Uberschall คือคำเยอรมันเพียงสองคำที่คุณจำเป็นต้องจำใส่กะโหลก Disturb, Slipknot และ Tool ล้วนแล้วแต่ใช้ Bogner มาช่วยเป็นกำลังทัพครองโลก

clip_image032

2) Mesa/Boogie Triple Rectifier Solo ประกอบด้วยสาม channel ที่แยกออกจากกัน Mesa/Boogie Triple Rectifier เป็นสินค้าประเภท three in one ที่น่าตื่นเต้นที่สุดนับตั้งแต่ DVD ล่าสุดของ Jenna Jameson แอมป์ Triple Rectifier นี้เห็นได้ตามเวทีของ P.O.D., Godsmack, Korn และ Metallica สิ่งที่มันทำหลังจากจบการแสดงของมันก็คือเริ่มเข้ามาเป็นกิเลสในใจของคุณ

clip_image034

1) Marshall JCM800 ตั้งแต่ที่มันเริ่มเปิดตัวในปี 1981 แอมป์ Marshall JCM800 ก็กลายมาเป็นแอมป์แห่ง metal ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะมันให้มันส์ได้มากกว่าที่โรงงานผลิตน้ำมันหมูจะให้คุณได้เสียอีก Zakk Wylde และ Kerry King แห่ง Slayer ต้องอุตส่าห์ยอมไปนอนค้างที่ Neverland Ranch กว่าจะได้แอมป์ JCM800 มาใช้

clip_image036

TOP 10 METAL EFFECTS

10) Electro-Harmonix Big Muff Pi มือกีตาร์ทั้งหลายต่างก็ใช้ distortion pedal นี้เพื่อให้ได้ซาวด์เสียงแตกออกมาจากแอมป์มานมนานกว่า 30 ปีแล้ว เราไม่แนะนำให้ต่อเข้ากับ Big Muff Pi ถ้าชุดของคุณไม่มีอะไรมากไปกว่า Jackson Dinky และ Small Stones คู่หนึ่ง

clip_image038

9) MXR Phase 90 เอ็ฟเฟ็คท์ Phase 90 นี้เป็นหนึ่งในเอ็ฟเฟ็คท์ phase shifters ที่มือกีตาร์ metal นิยมใช้กัน ลักษณะเสียง sweeping แบบนี้จะได้ยินจากอัลบั้มแรกของ Van Halen ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเสียงแบบนี้จะได้ยินจาก Eddie ตอนเขาทำความสะอาดโรงรถเท่านั้นก็ตาม

clip_image040

8) Boss DD-3 Digital Delay อยากจะได้ซาวด์ที่เหมือนกับว่าคุณเล่นสองครั้งมีโน้ตหลายตัวระหว่างการ solo มั้ย? แค่ต่อ DD-3 เข้าไปในสัญญาณของคุณแล้วก็ย่ำลงไป นักดนตรี metal มากมายใช้ delay pedal อันนี้แม้ว่าเราจะหาตัวอย่างของคนที่ใช้มันมายกให้ดูไม่ได้ก็ตามเถอะ

clip_image042

clip_image0447) Dunlop Uni-Vibe เป็นไปได้ว่าซาวด์หมุนวนหวือๆ แปลกๆ ที่คุณได้ยินจากคอนเสิร์ตครั้งล่าสุดของ Godsmack, Korn หรือ P.O.D. นั้นจะมาจาก Dunlop Uni-Vibe นี้เอง ไม่ได้มาจากเบียร์สี่ขวดหรือดงกำปั้นในการเล่น mosh (การเล่นกระแทกกัน) Jimi Hendrix เคยใช้มัน ปัจจุบันเขาตายแล้ว

6) Line 6 DM4 Distortion Modeler ถูกใช้โดย Metallica และ System of a Down เอ็ฟเฟ็คท์ DM4 สามารถทำเสียง distortion pedal ได้ทุกอย่าง ถ้าเอ็นจิเนียร์ของ Line 6 สามารถประดิษฐ์กล่องที่สามารถสร้าง supermodel ที่เราอยากนอนด้วยได้ตามที่ต้องการก็ดีสินะ

clip_image046

5) Boss OC-2 Octaver สร้างเสียงต่ำลงหนึ่ง octave และสอง octave ในโน้ตที่คุณเล่นอยู่ Boss Octaver นี้สามารถทำเสียงต่ำได้ตามที่คุณจะเล่นได้ Tony Iommi และ Stephen Carpenter แห่ง Deftone ใช้เอ็ฟเฟ็คท์นี้เพื่อสร้างซาวด์ปิศาจของพวกเขา ถ้าจะเล่นต่ำกว่านี้ต้องเปลี่ยนไปเล่นเบสแล้ว แต่ทำอย่างนั้นอาจถูกแฟนทิ้งได้

clip_image048

4) Ibanez TS-9 Tube Screamer ถูกออกแบบมาเพื่อขับแอมป์ให้แรงขึ้นเพื่อให้เสียงดังขึ้น มันถูกใช้โดยมือกีตาร์ลีด Kirk Hammett เพื่อ boost สัญญาณขึ้น pedal นี้ตอบสนองได้ดีกับเหล่าผู้ที่ถูกไล่ออกจากบ้านเช่า ทาง Ibanez น่าจะเรียกมันว่า Screaming เจ้าของบ้านเช่า

clip_image050

3) Dunlop Cry Baby wah-wah ถูกออกแบบมาให้ทำเสียงกีตาร์ให้เหมือนกับพูดได้ เจ้า Cry Baby wah-wah นี้ถูกผลิตมาช่วงเดียวกับที่ LSD กำลังเป็นที่นิยม บังเอิญมั้ยเนี่ย? ก่อนที่ Deicide จะได้เซ็นสัญญา พวกเขาเคยถูกหาว่าพวกเขาเหยียบเด็กทารกเพื่อจะทำซาวด์คล้ายๆ กันนี้

clip_image052

2) DigiTech WH-1 Whammy นี่คือ Whammy pedal แบบฉบับดั้งเดิมที่เป็นทางเดียวที่จะทำให้คุณมีซาวด์แบบ "ลิงในเครื่องปั่น" ของ Dimebag Darrell หรือซาวด์ "คนบ้าถือสว่าน" ของ Tom Morello ได้ ตอนนี้ราคาขายทางฝั่ง eBay ก็มากกว่า 500 เหรียญ ถ้าจะยอมจ่ายมากขนาดนั้นคงต้องถือว่าเป็นคนบ้าในเครื่องปั่นแล้ว

clip_image054

1) Boss MT-2 Metal Zone หนึ่งใน pedal ยอดนิยมของ Boss เป็นประวัติการณ์ เอ็ฟเฟ็คท์ Metal Zone มีราคาถูกและสามารถสร้างซาวด์เบสอ้วนๆ แรงๆ ขุดเอาเสียงกลางหรือจะให้เสียงแหลมแตกซ่านก็ทำได้ไม่ยากซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องการในกีตาร์ metal สมัยใหม่ Metal Zone เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรจะมีต่อจากแอมป์ของ Megadeth มือขวาของ James Hetfiled และ rack ของ Dimebag

clip_image056

อ้างอิง : Overdrive Guitar Magazine No.68, February 2004.

Wednesday, November 14, 2007

John Goldie Live @ Overtone (English)

John Goldie Live @ Overtone

Wednesday 21th November 2007

"John Goldie is one of the most talented guitarists to appear on the
British Jazz Scene in a long time.He is a talented guitarists not only

his solo album but also his band;Spirit of D’Jango. "

Enjoy with his Mini Concert at Overtone RCA

Wednesday 21th November 2007

Time: 10.00-11.00 P.M.

Information : Teera Music

Tel: 02-224-8821

John Goldie’s Biography

He Started playing guitar around six years of age, initially self-taught, gradually progressing to playing in Rock and Blues bands around twelve years old. Around this time studied music theory and harmony with a local tutor and also got involved with the dance band scene.

Whilst playing a function gig John was spotted by the musical director of a visiting Motown act from the U.S.A. and asked to be guitarist on their next UK tour. This was to be the start of many tours and work as a session player including CD’s Radio, TV Shows etc. A chance meeting with Jazz guitarist Martin Taylor and a subsequent invitation to perform together led to a dramatic change in direction career wise.

Not only did this collaboration lead to the award winning group Spirit of D’Jango, several CD’s tours and concerts at elite Jazz venues like Ronnie Scott’s, but was also the spark which ignited the solo career John now enjoys.

Whilst developing a solo repertoire John also wrote material for his own Trio, recording the acclaimed CD Turn and Twist with tours and festivals following. Whilst on the road John started writing material for a solo CD. The material was purely acoustic and after hearing a couple of demo tracks John was invited by Peter Finger over to Acoustic Music in Germany the premier acoustic label in Europe to record a solo acoustic guitar CD.

This album of original compositions and quirky takes on popular tunes received critical acclaim in the UK, USA and Europe. John has also attracted the attention of two of the biggest companies in the acoustic world, Martin Guitars and A.E.R. Acoustic Amplifiers. John is a proud endorsee of these products.

The release of “This Time and Place” follows this natural progression, and whilst drawing on his own Scottish and Jazz influences, places his music at the forefront of accessible virtuoso acoustic guitar. With a mixture of new compositions and well known tunes, the CD has already started to gain plaudits for its originality and quality of production, and looks set to bring John Goldie and his music to a much wider audience.

Monday, November 12, 2007

Megadeth live in bangkok, Interview

Interview

Overdrive presents

Megadeth Live In Bangkok

Date : October 23th, 2007

Promoter: Prart Music Group Co.,Ltd.

Venue : Bangkok Hall

Capacity : 3,000 peoples

This is Megadeth concert in Thailand. In Bangkok Hall, it had the majority of Thai and foreign people. Megadeth is a Legend of World Thrash Metal Band .

 

The band members are :

Dave Mustaine : Lead Vocals / Lead & Rhythm Guitar

Glen Drover : Lead & Rhythm Guitar

Shawn Drover : Drum

James Lomenzo : Bass

 

Megadeth got a warm welcome from their big fan in Bangkok when they came up the stage. Megadeth opened their concert with a song from their new album “United Abominations” Then they followed by a song that you knew well such as Wake Up Dead,Symphony of Destruction, Hanger 18 ,until the last song encore “Holy Wars”.In this concert, they handled all audiences with their their distinctive guitar style, involving complex, intricate musical passages, and trade off guitar solos, Mustaine’s original "snarling" vocal style and their lyrical themes involving politics, war, addiction, and personal relationships.

Thailand has many fans of Megadeth and Thai fans want to see their performance very much.So Megadeth came to Thailand to promote their new album “United Abominations” on October 23th, 2007. Thai fans crowded in Bangkok Hall and have fun together.

Songs List “Megadeth”

SLEEPWALKER

TAKE NO PRISONERS

WAKE UP DEAD

SKIN O’ MY TEETH

WASHINGTON IS NEXT

KICK THE CHAIR

DARKEST HOUR

HANGAR 18

GEARS OF WAR

A TOUT LE MONDE

TORNADO

ASHES IN YOUR MOUTH

NEVER WALK ALONE

SYMPHONY OF DESTRUCTION –EXT

TRUST

PEACE SELLS- EXT

Encore: HOLY WARS

Megadeth Discography

clip_image002[4] Killing Is My Business... and Business is Good! 1985

clip_image004

Peace Sells... But Who's Buying? 1986

clip_image006

So Far, So Good, So What! 1988

clip_image008

Rust In Peace 1990

clip_image010

Countdown to Extinction 1992

clip_image012

Youthanasia 1994

clip_image014

Cryptic Writings 1995

clip_image016

Risk 1999
clip_image018 The World Needs A hero 2001
clip_image020
The System Has Failed 2004

clip_image022

United Abominations 2007

Biography

clip_image002Megadeth is an American thrash metal band led by founder, frontman and songwriter Dave Mustain. Formed in 1983 following Mustaine's departure from Metallica, the band has since released eleven studio albums, six live albums, two EPs, and two compilations.

As a pioneer of the American thrash metal movement, Megadeth rose to international fame in the mid 1980s, but were plagued by constant lineup changes, due partly to Mustaine's and fellow band members' notorious substance abuse problems. After finding sobriety and securing a stable lineup, Megadeth went on to release a string of platinum and gold albums from 1986-1997, including the Grammy nominated, double-platinum Countdown to Extinction in 1992. Megadeth disbanded in 2002 after Mustaine suffered a severe nerve injury to his left arm, but following extensive physical therapy, Mustaine reformed the band in 2004 and released The System Has Failed, which debuted at #18 on the Billboard Top 200 chart, followed by United Abominations in 2007, which debuted at #8 on the Billboard Top 200 chart.

Megadeth are known for their distinctive guitar style, often involving complex, intricate musical passages, and trade off guitar solos. Mustaine is also known for his original "snarling" vocal style, as well as his recurring lyrical themes, often involving politics, war, addiction, and personal relationships.

As one of the most commercially successful heavy metal bands of all time, Megadeth has sold more than 20 million albums worldwide, including six consecutive platinum albums, with seven consecutive Grammy nominations for Best Metal Performance. In their 22 active years, Megadeth has had 18 official members, with Dave Mustaine remaining as the driving force, main songwriter, and sole original member. Megadeth is often mentioned as one of the "Big Four of Thrash" bands, along with Anthrax, Metallica and Slayer.

Megadeth Line-up

Dave Mustaine : Lead Vocals / Lead & Rhythm Guitar

Glen Drover : Lead & Rhythm Guitar

Shawn Drover : Drum

James Lomenzo : Bass

Official Website http://www.megadeth.com

Wednesday, November 7, 2007

แนวคิดในการเขียนเพลงของ โป่ง ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์

From :ดนตรีโต๊ะกลม, Overdrive Guitar Magazine No. 28, October 2000.

clip_image002

สวัสดีครับ ฉบับนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องของแนวคิดในการเขียนเพลงของตัวเอง หลังจากงานของหิน เหล็ก ไฟ ผ่านไปความคิดความอ่านในการเขียนเพลงของเราก็เปลี่ยนแปลงบ้าง คือเจตนาของเราจะก้าวไปคืออยากจะพัฒนาตัวเองบ้าง พยายามเขียนเรื่องราวที่แตกต่างออกไปบ้าง ก็มีเหมือนอย่างทีเล่นทีจริงอย่างเพลง "แวมไพร์" ซึ่งพูดถึงเรื่องเซ็กซ์ที่ผมหรือใคร ๆ ก็มีแต่ก็ไม่ได้จะให้ล่อแหลมอะไรมาก "เพลย์บอย" ก็สอดแทรกค่านิยมเรื่องของการสวมถุงยางอนามัย คือเราก็พยายามช่วยกันบ้างในเรื่องนี้ คงไม่ถึงขนดว่ารับผิดชอบสังคมแต่มันน่าจะมีคนที่รับรู้และเข้าใจในสิ่งที่เราพูดบ้าง อาจจะแค่สองสามคนที่เข้าใจก็ยังดี เราคงทำงานเป็นแค่กลไกหนึ่งของสังคมมากกว่า

เวลาจากการทำงานตั้งแต่ชุดแรก ๆ จนถึงปัจจุบันทำให้ความคิดอ่านในการทำงานของตัวเองเปลี่ยนไปพอสมควร คิดว่าอีกไม่นานตัวเองต้องมีวิธีการเขียนเพลงแบบใหม่ ๆ มีวิธีนำเสนอเรื่องราวแบบใหม่ ทั้งมุมมองและวิธีการเขียน การโยงการใช้ภาษา พยายามสังเกตงานเขียนเพลงของตัวเองว่ามันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไหม กับสิ่งที่คิดจะเปลี่ยนแปลงซึ่งน่าจะมีแต่ไม่รู้ว่าคนฟังจะรับกันได้ไหม

สำหรับวิธีการทำงานเขียนเพลงส่วนตัวมีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกมันมีมาจากแรงบันดาลใจ อาจจะเราได้ไปเจอเหตุการณ์ด้วยตัวเอง หรือไปพูดคุยกับคนที่เค้าเจอ เราก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนมันออกมาเป็นเรื่องเป็นราวของมัน อย่างที่สองประเภทมีโจทย์มา คือกำหนดเรื่องมาว่าเราจะเขียนเรื่องอะไร ซึ่งโจทย์นี่อาจจะมาจากพรรคพวกในวงหรือมาจากดนตรีก็ได้ เคยมีบางครั้งเหมือนกันที่เราพยายามเขียนงานให้คนอื่นแต่เค้าไม่เอาเพราะเค้าบอกว่าเพลงนั้นมันเป็นเรามากไป เนื้อหามันเข้ากับตัวเรามากกว่าที่เค้าจะร้อง สำหรับวิธีการที่จะเขียนเพลง ๆ หนึ่งก็อาจจะเริ่มจากมีทำนองมาให้แล้วเราใส่เนื้อร้อง หรืออาจจะเริ่มต้นจากเนื้อร้องของเราก็มีเหมือนกัน คงไม่ได้กำหนดวิธีตายตัวลงไป บางทีเราเขียนเรื่องเก็บไว้แล้วก็มาฟังดนตรีว่าเหมาะสมกับเรื่องแบบนี้มั้ย คุยกับเพื่อนร่วมวงได้บทสรุปแล้วเราก็เขียนเรื่องแบบนี้ดู สำหรับการลงเนื้อในส่วนของเพลงที่มีเมโลดี้แล้วนั้นเราคงจะดูภาพรวมของเพลง อาจจะต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง แต่โดยส่วนตัวแล้วถ้าสามารถทำให้ตรงกับเมโลดี้เลยได้ก็จะทำ ถือว่าท้าทาย แต่ถ้ามันจำเป็นต้องมีการเดินเรื่องที่ไม่สามารถลงตามเมโลดี้ได้ก็คงต้องคุยกัน เพราะสุดท้ายแล้วมันก็ต้องออกมาเป็นเพลงที่ทั้งวงยอมรับร่วมกัน

บางทีคนทำงานเขียนเพลงก็คงต้องการข้อมูลสำหรับเป็นไอเดียในการเขียนเพลงบ้างซึ่งมีหลายวิธี สำหรับตัวเองก็ชอบอ่านหนังสือที่น่าสนใจหรือมีคนแนะนำ แต่เราจะอ่านทั้งเพื่อประเทืองอารมณ์และอ่านเพื่อเก็บเป็นข้อมูล บางที่เราก็ได้จากหนังสือที่ไม่คิดว่าจะได้ บางทีเราเจอคำพูดประโยคนึงก็ทำให้เราเกิดไอเดียที่สามารถเขียนเป็นเพลง ๆ เลยก็มี ล่าสุดนี่ก็อ่านหนังสือเรื่องเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์เล่มหนึ่งแล้วก็เก็บมาเขียนเพลงได้เลย คือเราจะมองเรื่องบางอย่างที่ใกล้ตัวแต่คนมักจะมองข้ามเราจะเอามาเขียน แต่กับเรื่องที่ฮือฮาในสังคมช่วงระยะเวลานั้นจะไม่ค่อยเอามาเขียนเพราะไม่ค่อยชอบแนวนี้เท่าไหร่ จะพยายามเขียนเรื่องที่เป็นกลาง ๆ และทุกคนจับต้องได้ และอยากให้งานอยู่นาน ๆ

ในเรื่องของการใช้คำเราไม่ค่อยซีเรียสมากนัก ค่อนข้างจะยืดหยุ่น คำว่า "แคร์" ที่อยู่ในเพลง "อย่าหยุดยั้ง" ก็คงบอกได้ชัดเจน หรืองานเพลงในชุดใหม่นี่ก็จะมีเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาปนในเนื้อเพลงเหมือนกัน ตรงนี้คิดว่าเรื่องของเพลงซึ่งเป็นเพียงความบันเทิงเราไม่น่าไปกำหนดข้อจำกัดอะไรมากมาย แต่ยังไงเพลงก็คงมีผลต่อคนฟังบ้าง อย่างเพลง "อย่าหยุดยั้ง" ทำให้ผมได้รับจดหมายจากแฟนเพลงคนหนึ่งที่เค้าประทับใจเนื้อหาของเพลงนี้ ยังไงเราก็ยังระลึกเสมอว่าสิ่งที่เราทำอาจจะมีผลต่อคนฟังได้เหมือนกัน

clip_image004 สำหรับผมคำว่าป๊อบที่เราพูด ๆ กันมันคือ Popular คือสิ่งที่คนนิยม คงต้องพูดถึงในช่วงเวลาด้วย แต่ตัวเองคงไม่ได้คำนึงถึงมากขนาดนั้น ถ้าพูดถึงเพลงช้าบ้านเรารับได้อยู่แล้ว ขอให้มีเมโลดี้เพราะเป็นใช้ได้อยู่แล้ว เวลาเราเขียนเพลงให้ ป๊อบนี้มันคงต้องมีเรื่องของยุคสมัยบ้าง แต่เราก็ไม่ทิ้งที่มาของเรา คงผสมผสานกันมากกว่า คำใหม่ ๆ ที่คนสมัยนี้ชอบพูดกันอย่าง "เด๊ะๆ" อะไรพวกนี้ผมก็ใช้อยู่เหมือนกัน คือคิดว่าบางอย่างเราจำเป็นต้องร่วมสมัย อยากให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและรับงานของเราได้ด้วย แต่กับการทำงานบางครั้งที่มีเมโลดี้บังคับอยู่ทำให้เหมือนกับว่ากำหนดเลยว่าเราต้องใช้คำบางคำไปเลยซึ่งก็คงจะเป็นคำที่เคยใช้ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ แต่กับคำบางคำอย่าง "โหม" หรือ "ไฟ" อะไรนี่คงไม่ค่อยใช้แล้วเพราะออกจะเป็นภาษาเขียนมากไป แต่ถ้าต้องเจอกับคำถามถึงเรื่องของจุดยืนในการทำงานในขณะที่เราเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยก็คงต้องตอบว่าเราเองมีจุดยืนของตัวเอง แต่จุดยืนนี่ไม่ใช่ว่ามันจะขยับไม่ได้เลย เราคงจะปรับตัวบ้าง "แข็งจนหัก" มันก็คงไม่ใช่ บางทีมันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย อย่าลืมว่าเราทำงานเพื่อคนฟัง ถ้าอยากทำงานตามใจตัวเองแบบแข็งไม่ขยับเลยแต่เก็บไว้ฟังเองคงไม่เป็นไร แต่ถ้าเราต้องการสื่อให้คนอื่นเข้าใจด้วยเราก็น่าจะขยับบ้าง อาจจะไม่ถึงกับก้าวขาออกไปจากจุดของเราแค่ลองเอนตัวดูบ้างก็ไม่น่าเสียหายอะไร

กับการทำงานแน่นอนว่าศิลปินทุกคนอยากให้ผลงานที่ทำออกไปมีส่วนพัฒนาวงการถึงคนฟังเพลง แต่กับงานที่สื่อออกไป บางทีมันยังไม่ได้ กับบทความที่เขียนนี้หรือคอลัมน์ดนตรีต่าง ๆ ก็น่าจะมีส่วนช่วยได้บ้างในเรื่องความรู้ความเข้าใจ เข้าใจงานที่เราสื่อออกไป เพราะบางทีเราไม่มีโอกาสมาอธิบายว่าเพลงนี้เราต้องการให้คนฟังเข้าใจอย่างนี้นะ ก็อาศัยตรงนี้ช่วยขยายความให้กระจ่างมากขึ้น บางอย่างที่เราสอดแทรกลงไปในเพลงน่าจะช่วยพัฒนาวงการเพลงได้บ้าง

ความสำเร็จในความหมายที่คิดมีอยู่สองอย่างคือทั้งด้านธุรกิจและด้านผลงานที่เราพอใจ เราได้อย่างที่เราคิด และเราได้คนฟังมากอย่างที่ต้องการ ที่สำคัญคนฟังได้รับในสิ่งที่เรานำเสนอด้วย บริษัทได้ยอดขายที่ไม่ทำให้เค้าขาดทุนหรือบางทีอาจมีกำไรด้วย ได้ทั้งเงินทั้งกล่อง ผมคิดว่าน่าจะเป็นจุดนี้ และบางทีก็หวังเหมือนกันว่าถ้าเวลาผ่านไปสิบยี่สิบปีงานของเราจะยังเป็นที่พูดถึง หวังแต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นได้หรือเปล่า

ปิดท้ายก็หวังว่าความคิดอ่านของตัวเองที่ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือมาคงจะเป็นประโยชน์ต่อคนอ่านบ้างไม่มากก็น้อย สวัสดีครับ

อ้างอิง: ดนตรีโต๊ะกลม, Overdrive Guitar Magazine No. 28, October 2000.

[PMG Article] Wes Montgomery

Music Spoken Area

โดย ปรารถนา

Wes Montgomery

มีเรื่องเล่ากันว่า “บุคคลคนนี้ค้นพบสไตล์การเล่นด้วยนิ้วโป้ง เพราะว่าภรรยาบ่น เวลาซ้อมกีตาร์ว่า “หนวกหู” เลยต้องเล่นด้วยนิ้วโป้ง เพื่อให้เสียงมันเบาลง”

และยังมีคนกล่าวว่า “ถ้า Steve Vai คือ มือกีตาร์แห่งยุค 90 ละก็ Wes Montgomery นี้แหละ คือ มือกีตาร์แห่งยุค 60 นั่นเอง

เราคงปฏิเสธกันไม่ได้อย่างแน่นอนว่า มือกีตาร์ผู้นี้มีอิทธิพลต่อมือกีตาร์รุ่นหลังอย่างมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสาย Rock, Jazz, Blues หรือ กระทั่ง Popular ไม่ว่าจะเป็น George Benson นักกีตาร์ Jazz ผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนี้ หรือ Norman Brown ผู้เดินรอยตาม George Benson หรือ มือกีตาร์ผู้ยิ่งใหญ่ Jimi Hendrix ก็ได้รับอิทธิพลจาก Wes เช่นกัน รวมไปถึง Steve Vai และ Eric Johnson มือกีตาร์สารพัดพิษ ก็ได้รับอิทธิพลจากเขาเต็ม ๆ และยังมีอักมากมายนับไม่ถ้วนที่ได้จากเขา ดังนั้นวันนี้เราจะมารู้จักเขาพวกนี้กันให้ลึกซึ้งมากกว่าแค่สไตล์การเล่นอ๊อคเตฟ (Octave) จากการเล่นด้วยนิ้วโป้งของเขา

Wes Montgomery เริ่มเล่นกีตาร์ตอนอายุ 19 ปี ซึ่งหลาย ๆ คนมองว่าช้าเกินไป โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก ผลงานของ Charlie Christian ในเพลง “Solo Flight” ที่เล่นกับ Benny Goodman Band เขาพยายามเล่นก๊อปปี้โซโลของ Charlie ทุกอย่าง แต่ไม่รู้เหตุผลอันใดหรือเป็นเพราะเหหตุผลที่ผมกล่าวมาข้างต้นก็ไม่ทราบได้ ไม่อาจจะยืนยันได้ที่เขาหันมาใช้นิ้วโป้งของเขาแทนปิ๊ค และ พัฒนาเทคนิคนี้จนกลายเป็นสุ้มเสียงเอกลักษณ์ของเขา และกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการกีตาร์ในยุคนั้นเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการประสพความสำเร็จคงไม่ใช่แค่การใช้นิ้วโป้งของเขาอย่างเดียว นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ ความเป็นดนตรี (Music) ในตัวของเขาที่ทำให้เขาประสพความสำเร็จได้

ที่นี้ลองดูเทคนิคของเขาดูกันบ้างว่าเขาใช้อย่างไร ลักษณะการใช้นิ้วโป้งของเขาก็คือ เขาจะดีดตามแนวขนานของกีตาร์และปิ๊คการ์ด บริเวณหลังปิ๊คอัพ ตัวที่ติดคอกีตาร์ (Neck Pick-up) โดยจะใช้บริเวณข้อต่อของนิ้วโป้งเป็นที่สัมผัสสายและใช้ลักษณะคล้าย ๆ การตีคอร์ด (Strum) เป็นการเคลื่อนข้อมือและเขาใช้การดีดลง (Down Strokes) เป็นหลักใช้การดีดสลับ (Alternating Strokes) ในช่วงที่เป็นโน้ตเยอะ ๆ ในบางครั้งเท่านั้น

และในช่วงเดียวกัน Wes ก็คิดค้นลูกเอกลักษณ์ของเขาขึ้นมาก็คือ การใช้คู่ขนานอ๊อคเตฟ (Parallel Octave) และเจ้าสิ่งนี้นี่เองที่ทำให้ทุกคนหันมามองเขาและยิ่งเมื่อเขาใช้ลักษณะการดีดด้วยนิ้วโป้งของเขาด้วยแล้ว ทำให้เกิดมนต์เสน่ห์แห่งเสียงกีตาร์ที่เหนือจะบรรยายได้ ต้องลองฟังกันดูเอง ทีนี้ลองมาดูรูปแบบอ๊อคเตฟ ที่เขาใช้กันว่าเป็นอย่างไร

Ex. 1.

Shape 1 นั่นเขาจะใช้กับสาย 6และ4,5และ3 ส่วน Shape 2 นั้นเขาจะใช้กับสาย 4และ2,3และ1 ส่วนตรงเครื่องหมายกากบาทนั้น หมายถึง เสียงบอด (Deadened String) ในที่นี้มาจากมือซ้ายที่เล่นอ๊อคเตฟนั่นเอง ก็คือ จากนิ้วชี้ (นิ้ว1) ที่จับโน้ตตัวต่ำกว่านั่นเองและลักษณะการดีดของมือขวานั่นก็คืออย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นแต่ในน้ำหนักที่เบาลักษณะเหมือนดีดผ่าน ลองฝึกดู คุณอาจจะพบอะไรใหม่ ๆ ก็ได้

และนอกจาก ลูกอ๊อคเตฟของเขาแล้ว เขายังใช้อีกอย่างหนึ่ง คือ Double Octave ก็คือ ใช้เสียงเดียวกันที่ห่างกัน 2 อ๊อคเตฟ ลองดูจากตัวอย่างที่ 2 ดู

Ex. 2

จะเห็นว่ามีอยู่แค่ฟอร์มเดียว แต่เขาจะใช้นิ้วที่จับแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม ก็คือ อาจจะใช้นิ้ว 1และ3,2และ 3 หรือ 3และ4 ก็แล้วแต่ทางนิ้วที่เล่นมาและสำหรับมือขวานั้นเขาใช้นิ้วโป้งสำหรับ สาย 6 และนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง สำหรับสาย1 ไม่มีการใช้เสียงบอดจากลูก Double Octave นี้ลองฟังเพลง “Bumpin’ on Sunaet”จากอัลบั้ม Tequila ดูเขาใช้เทคนิคนี้ในช่วงเมโลดี้เกือบตลอด

ทีนี้เราจะมาดูกันว่า เวลาที่เขาเล่นนั่นเขาคิดอะไรกันบ้าง ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Wes ก็คือ นักกีตาร์บีบอบ (Bebop) คนหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Chord Harmony: Traid, 7th Chords, Extension Chords 9th ,11th ,13 รวมไปถึงการ Harmonization ของ Altered Chord และการใช้ Diminished หรือ Augmented Substitution เป็นพื้นฐานของนักกีตาร์บีบอบทุกคนอยู่แล้ว ผมคงไม่สามารถจะอธิบายทุกอย่างได้หมดเพราะ การเรียนเรื่องเหล่านี้เขาใช้เวลากันเป็นปี ๆ แต่ผมจะอธิบายโดยใช้การเปรียบเทียบจากสิ่งที่พวกเรารู้กันอยู่แล้วก็คือ 12 Bar Blues คงจะเป็นการดีกว่า จะได้มองเห็นภาพออก โดยจะยกตัวอย่างในคีย์ A ดูใน Ex.3

Ex. 3

นี่คือ ทางเดินคอร์ดของ 12 ห้องในสไตล์แจ๊ส (Jazz) ที่ใช้กันโดยทั่ว ๆ ไปลองสังเกตที่ห้อง 9-12 จะไม่เหมือนในสไตล์ร๊อค และ บูลส์ ในสไตล์แจ๊ส นิยมใช้ลักษณะใน Ex.3 นี้มาก เพราะจะได้สุ้มเสียงของทางเดินคอร์ด (ทู-ไฟว์-วัน) ในห้องที่ 9,10 และ 11 และใน 2 ห้องสุดท้าย (11-12) ก็จะเป็น Turnaround (ทางเดินคอร์ดที่ให้ความรู้สึกเพื่อกลับไปเริ่มใหม่) ซึ่งแต่ละคนก็จะใช้แตกต่างกันไป

ทีนี้ลองมาดู 12 ห้อง ที่ Wes เล่นกันดูบ้างใน Ex.4

Ex. 4

ทีนี้เรามาดูว่า Wes ทำอะไรลงไปบ้างใน 12 ห้อง อย่างแรกที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ Extension Chords ก็คือ เพิ่มจากคอร์ด 4 เสียง เป็น 5-6 เสียงเช่น A7 เป็น A13, D7 เป็น D9, D13 และการใช้ เข้าไปแทนคอร์ด (ห้องที่ 8,12) การใช้ Diatonic Substitution (ห้องที่ 9-12) และ Chromatic Sub. (ห้องที่ 11) ความจริงตรงนี้เราอาจจะคิดเป็น Flat Sub. ก็ได้ เพราะ Cm7 นั่นมาจาก C7 และ C7 ก็คือ Flat 5 Sub ของ F#7 ที่เป็นคอร์ด ของ Bm7 นั่นเอง นี่คือ Variation รวม ๆ ของ Wes คุณอาจจะดูแล้วว่า อะไรกันเต็มไปหมด แต่ทุก ๆ อย่างจบลงตรงคำว่า “Sound Good” เท่านั้น คุณจะแทนคอร์ดอย่างใดก็ตาม ถ้าสุ้มเสียงออกมาเยี่ยม นั่นแหละ ใช้ได้แล้ว

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างที่เราสามารถจะรู้จักกับ Wes ได้อย่างดี คือเพลง “Twisted Blues” จะเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์มากสำหรับสุ้มเสียงของ Wes เพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม So Much Guitar ที่อยู่กับ Reverside สำหรับในดนตรีแจ๊สแล้ว ศิลปินคนเดียวกับเพลงเดียวแต่จะมีหลายเวอร์ชั่นหรือหลายแผ่น เวลาจะพูดถึงเพลงไหนต้องกำหนดว่า ชุดไหน อัลบั้มไหน อยู่กับบริษัทไหน เทคที่เท่าไหร่ด้วย ถึงจะได้เพลงที่เราต้องการ มันเป็นอย่างนี้จริง ๆ เพลงนี้ก็เช่นกันมีอยู่หลายเวอร์ชั่นมากต้องตามที่กำหนดนี้นะ ถึงจะได้เวอร์ชั่นตามโน้ตนี้

ทีนี้เรามาดูกันว่าใน Twisted Blues นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในตอนต้นของเพลงนี้ Wes เริ่มด้วยการเล่นโน้ตลายเดียว (Single-Note) ที่เล่นเป็นคู่อ๊อคเตฟ (Octave) แล้วค่อย ๆ ผสมด้วยลูกอ๊อคเตฟที่ผสมและสลับคอร์ด (Chords) และจุดไคลแม็กซ์ของตอนต้นนี้ก็มีอยู่ที่ บล็อก คอร์ด โซโล (Block-Chord Solo) สังเกตจากห้องที่ 12 ไป โดย Wes ใช้ลักษณะการโซโลในลักษณะ “Question & Answer” หรือ ก็คือ”การถาม-การตอบ” นั่นเอง หมายถึงว่า ในการเล่นโซโลนั้นมันต้องมีประโยควรรคตอน ไม่ใช่เล่นอะไรก็ได้มั่ว ๆ ไป วิธีการนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันลักษณะเหมือนวลีนี้เป็นคำถาม อีกวลีหนึ่งก็เป็นคำตอบ ทำให้เกิดเป็นเนื้อหาขึ้นมา ลองหาเทปหรือ CD มาฟังกัน และในท่อนนี้ Wes ได้ความคิดมาจากเครื่องเป่า ในวงบิ๊กแบน (Big Band) มาประยุกต์เป็นคอร์ด โซโล ซึ่งนี่ก็เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่หลาย ๆ คนนิยมใช้ คือ นำเอาลักษณะเอกลักษณ์ ของหนึ่งมืออื่นมาใช้ในอีกเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ได้สีสันใหม่ ๆ แปลก ๆ ขึ้นมา

ในท่อนกีตาร์ตอนต้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก สำหรับคนที่ต้องการจะศึกษาวลีหรือประโยคในการอิมโพรไวซ์ (Improvise) ใน Jazz ซึ่งชัดเจณมากเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเริ่มศึกษาใน Jazz ลองหามาฟังดู

ทีนี้เราจะมาดูที่มาและโครงสร้างของเพลงนี้กัน อย่างแรกที่จะต้องกล่าวก็คือ Wes Montgomery นี่ก็คือ นักกีตาร์บีบ๊อบคนหนึ่งอย่างที่กล่าวในข้างต้นไปแล้ว แล้วเป็นเรื่องปกติที่นักดนตรีในสายบีบ๊อบจะต้องได้รับอิทธิพลมาจาก Charlie Parker บิดาแห่งบีบ๊อบหรืออาจจะเรียกว่า School Of Bebop ก็ได้ ในเพลงนี้ก็เช่นกันเป็นฟอร์ม (Form) ของดนตรีบีบ๊อบที่นิยมใช้กัน คือ 32- bar binary หมายถึง เพลงที่มีฟอร์มหลัก 32 ห้อง แบ่งเป็น 2 ท่อน ในที่นี้ก็คือ จะมีท่อน A 16 ห้อง และ ท่อน B 16 ห้อง แล้วก็จะใช้ฟอร์มในการโซโลด้วย

โดยในดนตรีแจ๊สเขาจะเรียก Verse/Chorus หรือ Main Theme หรือ Melody ว่า “Head” และท่อนโซโลที่ย้อนฟอร์มเดินของ Head เขาจะเรียกว่า “Chorus” นี่คือ ศัพท์ในดนตรีแจ๊สทีใช้กันอาจจะแตกต่างกับในดนตรีป๊อปก็ต้องสังเกตให้ดีว่า กำลังพูดถึงดนตรีอะไรที่เราศึกษาอยู่

ในท่อน Head ของ “Twisted Blues” นี้ ก็คือ ที่กล่าวมาแล้วและจะอยู่ในสุ้มเสียงของ Db Minor Pentatonic (Db, Fb, Gb, Ab, Cb) ที่ใช้กับคอร์ด Gb 7 และ G7 ใน 8 ห้องแรก นี่ก็คืออีกลักษณะหนึ่งที่ดนตรีแจ๊สนิยมใช้ก็คือ คิดสเกลจาก Primary Chords (คอร์ดหลักในสเกล ) โดยในที่นี้ใช้คอร์ด และจากเหตุผลนี้เลยทำให้ในท่อน Head ของเพลงนี้เกิดสีสันอย่างมาก และใน 8 ห้อง ต่อมา เขาใช้ส่วนหนึ่งของคัมภีร์บีบ๊อบ ก็คือ การเปลี่ยน Tonal Center หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เปลี่ยนคีย์นั่นเอง ก็คือจาก Gb7, B Minor,Bb Minor, E Minor, Eb Minor และ D Minor (สังเกตจากห้องที่ 12-16ใน Ex.5) และสังเกตดูว่าในแต่ละคีย์จะใช้ทางเดินคอร์ด (ทู-ไฟว์) นี้ก็คือการใช้คอร์ดยอดฮิตอย่างหนึ่งเลยทีเดียวในดนตรีแจ๊ส เช่น ในคีย์ B Minor ก็จะใช้เป็น Bm9 E9 ( ในคีย์ A นั่นเอง)

ลักษณะที่ใช้การเปลี่ยนคีย์อย่างมากนี้เราจะพบได้ในหลาย ๆ เพลงในดนตรีแจ๊สอย่าง “Moment Notice”, “Giant Step” ของ John Coltrance “Tune Up (Miles Davis)”, Joy Spring (Clifford Brown) หรือ “Well, You Needn’t (Monk)”

Wes เป็นนักกีตาร์คนหนึ่งที่มีเมโลดี้อยู่ตลอดเวลาในการโซโล่ของเขา นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ Wes เป็นที่ยกย่องของนักกีตาร์ทั่ว ๆ ไป คือ เขาสามารถจะสร้างเมโลดี้หรือลาย (Line) ใหม่ ๆ ในทางเดินคอร์ดเดิมที่ใช้โซโลได้อยู่ตลอดในที่นี้ก็รวมไปถึง โมทีฟ (Motif) และประโยค (Sentence) ด้วย และการใช้ริทึ่มและฮาร์โมนี่ ที่ซับซ้อนอยู่ตลอดเวลา

และเทคนิคอย่างหนึ่งที่เขาใช้ในกาคิดลาย(Line) หรือเมโลดี้ในการโซโลของเขาก็คือ คิดให้เพลงนั้น ๆ เป็น Cut-Time หรือก็คือ คิดว่า Half-Note (โน้ตตัวขาว) เป็นตัวเดินบีทแทน Querter-Note (โนี้ตตัวดำ) หรือถ้าจะให้คิดง่ายกว่านั้นก็คือ การที่คุณเคาะเท้า 4 ครั้ง ก็เคาะแค่ 2 ครั้ง คือ บีทที่ 1 และ 3 เท่านั้น ความรู้สึกของคุณก็จะเหมือนกับว่า เพลงช้าลงครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้คุณมีเวลาคิดอะไรมากขึ้นนั่นเองนี้คือ เทคนิคหนึ่งที่ Wes ใช้ ลองจำไว้ใช้ดู

ในตอนนี้คงมองอะไรกันออกแล้วบ้างว่า ทำไมมือกีตาร์รุ่นหลังถึงยกย่องเขาผู้นี้กันนัก ลองทำความเข้าใจกับเรื่องที่มาแล้วให้ดี คุณจะได้อะไรอีกมากมาย จากเขาผู้นี้ แต่นี้ยังไม่หมดนะ ความหน้าเราจะมาพูดถึงเขาผู้นี้กันต่อว่า อะไรคือ จุดเด่นในการโซโลของเขาว่าเขาคิดอะไรอีกที่ซับซ้อน น่าปวดหัวขึ้นอีก ไว้รอคราวหน้า

สำหรับมือกีตาร์ในสาย Rock ที่นำเอาเทคนิคของเขามาใช้ในผลงานของตัวเองก็อย่าง Eric Johnson ในเพลง “East Wes” ในอัลบั้ม “Ah Via Musicon” และ Steve Vai ในเพลง “Sister” จากอัลบั้ม “Passion and Warfare” , เพลง “Tender Surrender” จากอัลบั้ม “Alien Love Secrets” ฯลฯ

ก็ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า อย่าลืมหาผลงานของ Wes มาฟังกัน อย่างคำกล่าวที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าหูฟัง”

อ.ปราชญ์ ชาติรุ่งเรือง

Twisted Blues

อ้างอิง: Overdrive No.7