Music Spoken Area
โดย ปรารถนา
Wes Montgomery
มีเรื่องเล่ากันว่า “บุคคลคนนี้ค้นพบสไตล์การเล่นด้วยนิ้วโป้ง เพราะว่าภรรยาบ่น เวลาซ้อมกีตาร์ว่า “หนวกหู” เลยต้องเล่นด้วยนิ้วโป้ง เพื่อให้เสียงมันเบาลง”
และยังมีคนกล่าวว่า “ถ้า Steve Vai คือ มือกีตาร์แห่งยุค 90 ละก็ Wes Montgomery นี้แหละ คือ มือกีตาร์แห่งยุค 60 นั่นเอง
เราคงปฏิเสธกันไม่ได้อย่างแน่นอนว่า มือกีตาร์ผู้นี้มีอิทธิพลต่อมือกีตาร์รุ่นหลังอย่างมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสาย Rock, Jazz, Blues หรือ กระทั่ง Popular ไม่ว่าจะเป็น George Benson นักกีตาร์ Jazz ผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนี้ หรือ Norman Brown ผู้เดินรอยตาม George Benson หรือ มือกีตาร์ผู้ยิ่งใหญ่ Jimi Hendrix ก็ได้รับอิทธิพลจาก Wes เช่นกัน รวมไปถึง Steve Vai และ Eric Johnson มือกีตาร์สารพัดพิษ ก็ได้รับอิทธิพลจากเขาเต็ม ๆ และยังมีอักมากมายนับไม่ถ้วนที่ได้จากเขา ดังนั้นวันนี้เราจะมารู้จักเขาพวกนี้กันให้ลึกซึ้งมากกว่าแค่สไตล์การเล่นอ๊อคเตฟ (Octave) จากการเล่นด้วยนิ้วโป้งของเขา
Wes Montgomery เริ่มเล่นกีตาร์ตอนอายุ 19 ปี ซึ่งหลาย ๆ คนมองว่าช้าเกินไป โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก ผลงานของ Charlie Christian ในเพลง “Solo Flight” ที่เล่นกับ Benny Goodman Band เขาพยายามเล่นก๊อปปี้โซโลของ Charlie ทุกอย่าง แต่ไม่รู้เหตุผลอันใดหรือเป็นเพราะเหหตุผลที่ผมกล่าวมาข้างต้นก็ไม่ทราบได้ ไม่อาจจะยืนยันได้ที่เขาหันมาใช้นิ้วโป้งของเขาแทนปิ๊ค และ พัฒนาเทคนิคนี้จนกลายเป็นสุ้มเสียงเอกลักษณ์ของเขา และกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการกีตาร์ในยุคนั้นเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการประสพความสำเร็จคงไม่ใช่แค่การใช้นิ้วโป้งของเขาอย่างเดียว นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ ความเป็นดนตรี (Music) ในตัวของเขาที่ทำให้เขาประสพความสำเร็จได้
ที่นี้ลองดูเทคนิคของเขาดูกันบ้างว่าเขาใช้อย่างไร ลักษณะการใช้นิ้วโป้งของเขาก็คือ เขาจะดีดตามแนวขนานของกีตาร์และปิ๊คการ์ด บริเวณหลังปิ๊คอัพ ตัวที่ติดคอกีตาร์ (Neck Pick-up) โดยจะใช้บริเวณข้อต่อของนิ้วโป้งเป็นที่สัมผัสสายและใช้ลักษณะคล้าย ๆ การตีคอร์ด (Strum) เป็นการเคลื่อนข้อมือและเขาใช้การดีดลง (Down Strokes) เป็นหลักใช้การดีดสลับ (Alternating Strokes) ในช่วงที่เป็นโน้ตเยอะ ๆ ในบางครั้งเท่านั้น
และในช่วงเดียวกัน Wes ก็คิดค้นลูกเอกลักษณ์ของเขาขึ้นมาก็คือ การใช้คู่ขนานอ๊อคเตฟ (Parallel Octave) และเจ้าสิ่งนี้นี่เองที่ทำให้ทุกคนหันมามองเขาและยิ่งเมื่อเขาใช้ลักษณะการดีดด้วยนิ้วโป้งของเขาด้วยแล้ว ทำให้เกิดมนต์เสน่ห์แห่งเสียงกีตาร์ที่เหนือจะบรรยายได้ ต้องลองฟังกันดูเอง ทีนี้ลองมาดูรูปแบบอ๊อคเตฟ ที่เขาใช้กันว่าเป็นอย่างไร
Ex. 1.
Shape 1 นั่นเขาจะใช้กับสาย 6และ4,5และ3 ส่วน Shape 2 นั้นเขาจะใช้กับสาย 4และ2,3และ1 ส่วนตรงเครื่องหมายกากบาทนั้น หมายถึง เสียงบอด (Deadened String) ในที่นี้มาจากมือซ้ายที่เล่นอ๊อคเตฟนั่นเอง ก็คือ จากนิ้วชี้ (นิ้ว1) ที่จับโน้ตตัวต่ำกว่านั่นเองและลักษณะการดีดของมือขวานั่นก็คืออย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นแต่ในน้ำหนักที่เบาลักษณะเหมือนดีดผ่าน ลองฝึกดู คุณอาจจะพบอะไรใหม่ ๆ ก็ได้
และนอกจาก ลูกอ๊อคเตฟของเขาแล้ว เขายังใช้อีกอย่างหนึ่ง คือ Double Octave ก็คือ ใช้เสียงเดียวกันที่ห่างกัน 2 อ๊อคเตฟ ลองดูจากตัวอย่างที่ 2 ดู
Ex. 2
จะเห็นว่ามีอยู่แค่ฟอร์มเดียว แต่เขาจะใช้นิ้วที่จับแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม ก็คือ อาจจะใช้นิ้ว 1และ3,2และ 3 หรือ 3และ4 ก็แล้วแต่ทางนิ้วที่เล่นมาและสำหรับมือขวานั้นเขาใช้นิ้วโป้งสำหรับ สาย 6 และนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง สำหรับสาย1 ไม่มีการใช้เสียงบอดจากลูก Double Octave นี้ลองฟังเพลง “Bumpin’ on Sunaet”จากอัลบั้ม Tequila ดูเขาใช้เทคนิคนี้ในช่วงเมโลดี้เกือบตลอด
ทีนี้เราจะมาดูกันว่า เวลาที่เขาเล่นนั่นเขาคิดอะไรกันบ้าง ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Wes ก็คือ นักกีตาร์บีบอบ (Bebop) คนหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Chord Harmony: Traid, 7th Chords, Extension Chords 9th ,11th ,13 รวมไปถึงการ Harmonization ของ Altered Chord และการใช้ Diminished หรือ Augmented Substitution เป็นพื้นฐานของนักกีตาร์บีบอบทุกคนอยู่แล้ว ผมคงไม่สามารถจะอธิบายทุกอย่างได้หมดเพราะ การเรียนเรื่องเหล่านี้เขาใช้เวลากันเป็นปี ๆ แต่ผมจะอธิบายโดยใช้การเปรียบเทียบจากสิ่งที่พวกเรารู้กันอยู่แล้วก็คือ 12 Bar Blues คงจะเป็นการดีกว่า จะได้มองเห็นภาพออก โดยจะยกตัวอย่างในคีย์ A ดูใน Ex.3
Ex. 3
นี่คือ ทางเดินคอร์ดของ 12 ห้องในสไตล์แจ๊ส (Jazz) ที่ใช้กันโดยทั่ว ๆ ไปลองสังเกตที่ห้อง 9-12 จะไม่เหมือนในสไตล์ร๊อค และ บูลส์ ในสไตล์แจ๊ส นิยมใช้ลักษณะใน Ex.3 นี้มาก เพราะจะได้สุ้มเสียงของทางเดินคอร์ด (ทู-ไฟว์-วัน) ในห้องที่ 9,10 และ 11 และใน 2 ห้องสุดท้าย (11-12) ก็จะเป็น Turnaround (ทางเดินคอร์ดที่ให้ความรู้สึกเพื่อกลับไปเริ่มใหม่) ซึ่งแต่ละคนก็จะใช้แตกต่างกันไป
ทีนี้ลองมาดู 12 ห้อง ที่ Wes เล่นกันดูบ้างใน Ex.4
Ex. 4
ทีนี้เรามาดูว่า Wes ทำอะไรลงไปบ้างใน 12 ห้อง อย่างแรกที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ Extension Chords ก็คือ เพิ่มจากคอร์ด 4 เสียง เป็น 5-6 เสียงเช่น A7 เป็น A13, D7 เป็น D9, D13 และการใช้ เข้าไปแทนคอร์ด (ห้องที่ 8,12) การใช้ Diatonic Substitution (ห้องที่ 9-12) และ Chromatic Sub. (ห้องที่ 11) ความจริงตรงนี้เราอาจจะคิดเป็น Flat Sub. ก็ได้ เพราะ Cm7 นั่นมาจาก C7 และ C7 ก็คือ Flat 5 Sub ของ F#7 ที่เป็นคอร์ด ของ Bm7 นั่นเอง นี่คือ Variation รวม ๆ ของ Wes คุณอาจจะดูแล้วว่า อะไรกันเต็มไปหมด แต่ทุก ๆ อย่างจบลงตรงคำว่า “Sound Good” เท่านั้น คุณจะแทนคอร์ดอย่างใดก็ตาม ถ้าสุ้มเสียงออกมาเยี่ยม นั่นแหละ ใช้ได้แล้ว
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างที่เราสามารถจะรู้จักกับ Wes ได้อย่างดี คือเพลง “Twisted Blues” จะเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์มากสำหรับสุ้มเสียงของ Wes เพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม So Much Guitar ที่อยู่กับ Reverside สำหรับในดนตรีแจ๊สแล้ว ศิลปินคนเดียวกับเพลงเดียวแต่จะมีหลายเวอร์ชั่นหรือหลายแผ่น เวลาจะพูดถึงเพลงไหนต้องกำหนดว่า ชุดไหน อัลบั้มไหน อยู่กับบริษัทไหน เทคที่เท่าไหร่ด้วย ถึงจะได้เพลงที่เราต้องการ มันเป็นอย่างนี้จริง ๆ เพลงนี้ก็เช่นกันมีอยู่หลายเวอร์ชั่นมากต้องตามที่กำหนดนี้นะ ถึงจะได้เวอร์ชั่นตามโน้ตนี้
ทีนี้เรามาดูกันว่าใน Twisted Blues นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในตอนต้นของเพลงนี้ Wes เริ่มด้วยการเล่นโน้ตลายเดียว (Single-Note) ที่เล่นเป็นคู่อ๊อคเตฟ (Octave) แล้วค่อย ๆ ผสมด้วยลูกอ๊อคเตฟที่ผสมและสลับคอร์ด (Chords) และจุดไคลแม็กซ์ของตอนต้นนี้ก็มีอยู่ที่ บล็อก คอร์ด โซโล (Block-Chord Solo) สังเกตจากห้องที่ 12 ไป โดย Wes ใช้ลักษณะการโซโลในลักษณะ “Question & Answer” หรือ ก็คือ”การถาม-การตอบ” นั่นเอง หมายถึงว่า ในการเล่นโซโลนั้นมันต้องมีประโยควรรคตอน ไม่ใช่เล่นอะไรก็ได้มั่ว ๆ ไป วิธีการนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันลักษณะเหมือนวลีนี้เป็นคำถาม อีกวลีหนึ่งก็เป็นคำตอบ ทำให้เกิดเป็นเนื้อหาขึ้นมา ลองหาเทปหรือ CD มาฟังกัน และในท่อนนี้ Wes ได้ความคิดมาจากเครื่องเป่า ในวงบิ๊กแบน (Big Band) มาประยุกต์เป็นคอร์ด โซโล ซึ่งนี่ก็เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่หลาย ๆ คนนิยมใช้ คือ นำเอาลักษณะเอกลักษณ์ ของหนึ่งมืออื่นมาใช้ในอีกเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ได้สีสันใหม่ ๆ แปลก ๆ ขึ้นมา
ในท่อนกีตาร์ตอนต้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก สำหรับคนที่ต้องการจะศึกษาวลีหรือประโยคในการอิมโพรไวซ์ (Improvise) ใน Jazz ซึ่งชัดเจณมากเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเริ่มศึกษาใน Jazz ลองหามาฟังดู
ทีนี้เราจะมาดูที่มาและโครงสร้างของเพลงนี้กัน อย่างแรกที่จะต้องกล่าวก็คือ Wes Montgomery นี่ก็คือ นักกีตาร์บีบ๊อบคนหนึ่งอย่างที่กล่าวในข้างต้นไปแล้ว แล้วเป็นเรื่องปกติที่นักดนตรีในสายบีบ๊อบจะต้องได้รับอิทธิพลมาจาก Charlie Parker บิดาแห่งบีบ๊อบหรืออาจจะเรียกว่า School Of Bebop ก็ได้ ในเพลงนี้ก็เช่นกันเป็นฟอร์ม (Form) ของดนตรีบีบ๊อบที่นิยมใช้กัน คือ 32- bar binary หมายถึง เพลงที่มีฟอร์มหลัก 32 ห้อง แบ่งเป็น 2 ท่อน ในที่นี้ก็คือ จะมีท่อน A 16 ห้อง และ ท่อน B 16 ห้อง แล้วก็จะใช้ฟอร์มในการโซโลด้วย
โดยในดนตรีแจ๊สเขาจะเรียก Verse/Chorus หรือ Main Theme หรือ Melody ว่า “Head” และท่อนโซโลที่ย้อนฟอร์มเดินของ Head เขาจะเรียกว่า “Chorus” นี่คือ ศัพท์ในดนตรีแจ๊สทีใช้กันอาจจะแตกต่างกับในดนตรีป๊อปก็ต้องสังเกตให้ดีว่า กำลังพูดถึงดนตรีอะไรที่เราศึกษาอยู่
ในท่อน Head ของ “Twisted Blues” นี้ ก็คือ ที่กล่าวมาแล้วและจะอยู่ในสุ้มเสียงของ Db Minor Pentatonic (Db, Fb, Gb, Ab, Cb) ที่ใช้กับคอร์ด Gb 7 และ G7 ใน 8 ห้องแรก นี่ก็คืออีกลักษณะหนึ่งที่ดนตรีแจ๊สนิยมใช้ก็คือ คิดสเกลจาก Primary Chords (คอร์ดหลักในสเกล ) โดยในที่นี้ใช้คอร์ด และจากเหตุผลนี้เลยทำให้ในท่อน Head ของเพลงนี้เกิดสีสันอย่างมาก และใน 8 ห้อง ต่อมา เขาใช้ส่วนหนึ่งของคัมภีร์บีบ๊อบ ก็คือ การเปลี่ยน Tonal Center หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เปลี่ยนคีย์นั่นเอง ก็คือจาก Gb7, B Minor,Bb Minor, E Minor, Eb Minor และ D Minor (สังเกตจากห้องที่ 12-16ใน Ex.5) และสังเกตดูว่าในแต่ละคีย์จะใช้ทางเดินคอร์ด (ทู-ไฟว์) นี้ก็คือการใช้คอร์ดยอดฮิตอย่างหนึ่งเลยทีเดียวในดนตรีแจ๊ส เช่น ในคีย์ B Minor ก็จะใช้เป็น Bm9 E9 ( ในคีย์ A นั่นเอง)
ลักษณะที่ใช้การเปลี่ยนคีย์อย่างมากนี้เราจะพบได้ในหลาย ๆ เพลงในดนตรีแจ๊สอย่าง “Moment Notice”, “Giant Step” ของ John Coltrance “Tune Up (Miles Davis)”, Joy Spring (Clifford Brown) หรือ “Well, You Needn’t (Monk)”
Wes เป็นนักกีตาร์คนหนึ่งที่มีเมโลดี้อยู่ตลอดเวลาในการโซโล่ของเขา นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ Wes เป็นที่ยกย่องของนักกีตาร์ทั่ว ๆ ไป คือ เขาสามารถจะสร้างเมโลดี้หรือลาย (Line) ใหม่ ๆ ในทางเดินคอร์ดเดิมที่ใช้โซโลได้อยู่ตลอดในที่นี้ก็รวมไปถึง โมทีฟ (Motif) และประโยค (Sentence) ด้วย และการใช้ริทึ่มและฮาร์โมนี่ ที่ซับซ้อนอยู่ตลอดเวลา
และเทคนิคอย่างหนึ่งที่เขาใช้ในกาคิดลาย(Line) หรือเมโลดี้ในการโซโลของเขาก็คือ คิดให้เพลงนั้น ๆ เป็น Cut-Time หรือก็คือ คิดว่า Half-Note (โน้ตตัวขาว) เป็นตัวเดินบีทแทน Querter-Note (โนี้ตตัวดำ) หรือถ้าจะให้คิดง่ายกว่านั้นก็คือ การที่คุณเคาะเท้า 4 ครั้ง ก็เคาะแค่ 2 ครั้ง คือ บีทที่ 1 และ 3 เท่านั้น ความรู้สึกของคุณก็จะเหมือนกับว่า เพลงช้าลงครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้คุณมีเวลาคิดอะไรมากขึ้นนั่นเองนี้คือ เทคนิคหนึ่งที่ Wes ใช้ ลองจำไว้ใช้ดู
ในตอนนี้คงมองอะไรกันออกแล้วบ้างว่า ทำไมมือกีตาร์รุ่นหลังถึงยกย่องเขาผู้นี้กันนัก ลองทำความเข้าใจกับเรื่องที่มาแล้วให้ดี คุณจะได้อะไรอีกมากมาย จากเขาผู้นี้ แต่นี้ยังไม่หมดนะ ความหน้าเราจะมาพูดถึงเขาผู้นี้กันต่อว่า อะไรคือ จุดเด่นในการโซโลของเขาว่าเขาคิดอะไรอีกที่ซับซ้อน น่าปวดหัวขึ้นอีก ไว้รอคราวหน้า
สำหรับมือกีตาร์ในสาย Rock ที่นำเอาเทคนิคของเขามาใช้ในผลงานของตัวเองก็อย่าง Eric Johnson ในเพลง “East Wes” ในอัลบั้ม “Ah Via Musicon” และ Steve Vai ในเพลง “Sister” จากอัลบั้ม “Passion and Warfare” , เพลง “Tender Surrender” จากอัลบั้ม “Alien Love Secrets” ฯลฯ
ก็ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า อย่าลืมหาผลงานของ Wes มาฟังกัน อย่างคำกล่าวที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าหูฟัง”
อ.ปราชญ์ ชาติรุ่งเรือง
Twisted Blues
อ้างอิง: Overdrive No.7
No comments:
Post a Comment